วันพฤหัสบดี, 2 พฤษภาคม 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู

เพลี้ยแป้งสีชมพู คือศัตรูที่ทำความเสียหายต่อไร่มันสำปะหลังมากที่สุดและรุนแรงมากที่สุด ที่ทำให้ผลผลิตในไร่มันสำปะหลังลดลงมากสุดถึง 80 % เพลี้ยสีชมพูจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหมือนผงแป้ง พบตัวอ่อนหลบซ่อนตามใบและยอดที่ยิ่งเป็นพุ่ม พบตามลำต้นที่บิดโค้งงอ หรือพบเดินไปเดินมาบนใบ หากพบเพลี้ยแป้งสีชมพูในต้นมันสำปะหลังที่มีอายุ 1-4 เดือนแรก จะเป็นสาเหตุให้ต้นมันสำปะหลังล้มตายได้

เนื่องจากศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง เช่น แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าตัวห้ำ ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ไม่สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูได้ กรมวิชาการเกษตรจึงได้นำเข้าแตนเบียนอะนาไจรัสมาเพาะเลี้ยงและวิจัย ก่อนจะแจกจ่ายให้เกษตรกรทั่วประเทศนำไปใช้

ลักษณะของแตนเบียนอะนาไจรัสมีลักษณะลำตัวสีดำ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.3 มิลลิเมตร แตนเบียนจะดูดกินของเหลวจากตัวเพลี้ยแป้งสีชมพูเป็นอาหาร ทำให้เพลี้ยแป้งสีชมพูตายทันที หรือวางไข่ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู วิธีนี้จะทำให้เพลียแป้งสีชมพูตายลงอย่างช้าๆ

วิธีการปล่อยแตนเบียนเพื่อไปกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูให้นำแตนเบียน 4-5 ตัว ใส่ถุงหรือกระป๋องใบเล็กๆ เปิดฝาไว้แล้วนำไปแขวนใกล้ๆยอดมันสำปะหลังที่มีแป้งสีชมพู จากนั้นแตนเบียนจะบินเข้าหายอดมันสำปะหลัง

ใน 1 ไร่ควรปล่อยแตนเบียน 50-100 คู่ แต่ถ้าระบาดรุนแรงให้ปล่อย 200 คู่ต่อไร่ และควรปล่อยแตนเบียนทันทีเมื่อพบการระบาด และควรงดการพ่นสารเคมีในบริเวณที่ปล่อยแตนเบียน เพราะจะทำให้แตนเบียนตายได้

ตั้งแต่รู้จักวิธีปล่อยแตนเบียน ก็ทำให้เพลี้ยแป้งสีชมพูในไร่ลดลงเป็นอย่างมาก ได้ผลผลิตดีขึ้น และไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีต่อไป

ถ้าเกษตรกรต้องการแตนเบียนในปริมาณมาก สามารถติดต่อสอบถามวิธีการเลี้ยงแตนเบียนด้วยตัวเองได้ที่ศูนย์บริการศัตรูพืชหรือสำนักงานเกษตรในพื้นที่

#มันสำปะหลัง
#เพลี้ยแป้งสีชมพู
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.