วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนด้วงหนวดยาว | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนด้วงหนวดยาว

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

ด้วงหนวดยาว ศัตรูของต้นออ้อย มีปีกแข็ง สีน้ำตาลแดง ลำตัวยาวประมาณ 20-40 มิลลิเมตร ด้วงหนวดยาวพบการเข้าทำลายออยตลอดอายุการเจริญเติบโต พบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มปลูก 1-3 เดือนแรกจะเจาะเข้าไปกินเนื้ออ้อย ภายในท่อนพันธุ์ จากทางโคนต้นใต้ดิน ทำให้ต้นพันธุ์อ้อยไม่งอก ทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงได้มากถึง 43 %

วิธีการป้องกันด้วงหนวดยาว เบื้องต้นเกษตรกรสามารถทำควบคู่กันไปดังนี้
1. เลือกต้นพันธุ์อ้อยที่สมบูรณ์ไม่มีหนอนเจาะ
2. ก่อนปลูกอ้อยควรไถไร่ 1-2 ครั้ง แล้วเดินเก็บหนอนตามรอยไถเพื่อลดปริมาณหนอน
3. เมื่อพบการระบาดของด้วงหนวดยาวให้ใช้เชื้อราเขียว หรือเชื้อเมธาไรเซียม

วิธีการใช้เริ่มจาก โรยชื้อราบนท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 กิโลกรัม ต่อท่อนพันธุ์อ้อย 1 ไร่หรือประมาณ 10,000 ท่อนแล้วกลบดิน เชื้อราเขียวจะเข้าทำลายตัวด้วงจนตาย

การใช้เชื้อราให้ได้ผลนี้ ต้องใช้กำจัดด้วงช่วงตั้งแต่ระยะหนอน เพราะเชื้อราสามารถเจาะเข้าไปในลำตัวของหนอนได้ง่าย ทำให้หนอนแห้งตาย และเชื้อราสามารถกระจายต่อไปได้เรื่อยๆ จากซากหนอนที่ตายแล้ว

เกษตรกรสามารถหาซื้อเชื้อราเมธาไรเซียมหรือเชื้อราเขียวได้จาก ร้านค้าทางการเกษตรทั่วไป หรือติดต่อขอซื้อจากโรงงานน้ำตาล

ช่วงที่ด้วงหนวดยาวระบาด อ้อยเสียหายเยอะมาก ท่อนพันธุ์โดนกินหมดเลย อ้อยมันก็ไม่งอกมา บางต้นที่โตขึ้นมา โดนหนอนกินทีหลังก็มี แรกๆก็ใช้วิธีเดินเก็บหนอนเอา ก็พอช่วยได้บ้างนะครับ แต่ผลผลิตก็ยังเสียหายลงไปเยอะ หลังๆก็ลองเปลี่ยนมาใช้เชื้อราเขียวควบคุมท่อนพันธ์ตั้งแต่ก่อนปลูก เห็นผลดีเลยครับ ดีกว่าเดินเก็บหนอนที่ตายในไร่

#อ้อย
#ด้วงหนวดยาว
#แมลง
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.