วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคราสนิม | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคราสนิม


website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคราสนิมเป็นโรคที่ระบาดหนักในช่วงฤดูหนาว สร้างความเสียหายให้แก่อ้อยได้ถึง 30 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
นอกจากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงแล้ว ยังทำให้ความหวานของอ้อยลดลงอีกด้วย ต้นเหตุของโรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา พัคซิเนีย เมลาโนเซฟารา หรือเรียกแบบไทยๆว่าราสาเหตุเชื้อราสาเหตุ จะเริ่มเข้าทำลายในส่วนของใบอ่อน มองเห็นเป็นจุดเล็กๆสีแดงแล้วลามจนเห็นชัดเมื่อใบอ้อยเจริญเป็นใบแก่ แผลขยายใหญ่ขึ้นขนาดแผลกว้าง 1-3 มิลลิเมตร ยาว 2-10 มิลลิเมตร แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง แผลนูนขึ้น โดยเฉพาะด้านหลังใบเชื้อราจะสร้างสปอร์ตรงแผลนูนนี้แล้วเมื่อแตกออกแผลจะขรุขระและมีผงสปอร์สีน้ำตาลแดง คล้ายสีสนิมขึ้นจำนวนมาก

หากพบการระบาดของโรคราสนิมควรรีบป้องกันกำจัดทันที เพราะสปอร์ของเชื้อราสาเหตุนี้จะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วด้วยการกระจายไปตามลมและฝน และยังสามารถอาศัยอยู่ในเศษซากอ้อยหรือตออ้อยได้อีกด้วย

วิธีการป้องกันและกำจัดโรคราสนิม
1. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานโรคเช่น อู่ทอง 2 อู่ทอง 4 และ เค-90-77
2. หากพบอ้อยที่เป็นโรคให้เก็บออกจากไร่ไปเผาทำลาย รวมถึงกำจัดวัชพืชที่อยู่ในไร่ก็สามารถลดโอกาสการเกิดโรค ในการปลูกครั้งต่อไปได้
3. หากพบการระบาดของโรคให้ใช้สารเคมี คลอโรทาโลนิล 75% wp ชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 10 ถึง 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 85% wp ชนิดผงละลายน้ำอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน


เมื่อก่อนเจอโรคราสนิมทั่วเต็มทั้งไร่อ้อย แล้วก็เจอซ้ำกันทุกปีก็ไม่รู้จะหาวิธีการแก้ไขยังไง ก็เลยเปลี่ยนท่อนพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค และสารเคมีที่กำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและถูกวิธีก็ไม่เจอโรคระบาดอีกเลย

#อ้อย
#โรคราสนิม
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.