วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง | สวก.

โรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดงโรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง
รู้ทันศัตรูพืชเรื่อง อ้อย ตอนโรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดงเกิดจากเชื้อรา คอเล็คโตรติกัม เฟาเคตั้ม พบได้ในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ มักเกิดกับใบแก่มากกว่าใบอ่อน โดยโรคนี้จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ปริมาณน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อยก็จะลดลงตามไปด้วย อาการเมื่ออ้อยเป็นโรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง สังเกตได้จากช่วงที่อ้อยในระยะที่กำลังย่างปล้อง และระยะอ้อยแก่ ที่บริเวณเปลือกภายนอกต้น จะมีรอยแผลสีน้ำตาล และปล้องเหี่ยวเน่าอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อผ่าดูในลำต้นอ้อยแล้ว จะพบลำต้นที่เน่าแดง มีรอยแต้มเล็กๆสีขาวคั่นในรอยแผลเป็นระยะๆ ซึ่งจะตั้งฉากกับความยาวลำ และรอยแต้มขาวอาจไม่ปรากฏในอ้อยบางสายพันธุ์

เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้นอ้อยที่เน่าจะยุบเป็นโพรง และมีเม็ดสีส้มบริเวณรอบๆข้ออ้อย สุดท้ายอ้อยก็จะมีอาการใบเหลือง ยอดแห้ง และกอตายในที่สุด


วิธีการป้องกันและกำจัดโรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง
1. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทาน หรือต้านทานปานกลาง ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของโรค เช่น อู่ทอง 2 ,อู่ทอง 4, เค 84-200, เค 90- 77 ,ฟิล 63-17
2. คัดเลือกท่อนพันธุ์อ้อยที่สมบูรณ์ และไม่เป็นโรค และก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารเคมีได้แก่ เบโนมิล 50% wp สารเคมีชนิดผงละลายน้ำ ในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทโอฟาเนตเมทิล 70% wp สารเคมีชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แช่นาน 30 นาทีก่อนปลูก


เมื่อแช่ท่อนพันธุ์และปลูกไปแล้ว ควรพ่นสารเคมีที่ใช้แช่ท่อนพันธุ์ชนิดใดชนิดหนึ่งดังกล่าวร่วมด้วย โดยพ่นที่ช่วงอายุ 1-5 เดือน บริเวณโคนกออ้อย เดือนละ 1 ครั้งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้


เมื่อก่อนเราเคยพบว่าต้นอ้อยเป็นโรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง ก็เลยหาวิธีที่จะเปลี่ยนท่อนพันธุ์ ที่มันต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี และนำไปแช่สารที่ป้องกันโรคให้ถูกต้องและถูกวิธีจากนั้นก็ไม่พบโรคระบาดอีกเลย


#อ้อย
#โรคลำต้นเน่าแดง
#ใบขีดแดง
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.

โรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดงในอ้อย