วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนหนอนเจาะลำต้น | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนหนอนเจาะลำต้น

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017


หนอนเจาะลำต้นอ้อยตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่แรกสีทองแดง กลางปีกมีจุดดำเล็ก 2 จุดอยู่ใกล้ๆกัน ปีกคู่หลังสีอ่อนกว่าปีคู่แรก ตัวเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 10-80 ฟอง มองดูคล้ายเกล็ดปลา มีสีขาวนวล หนอนได้ระยะแรกจะมีสีขาวนวลตลอดทั้งลำตัว เมื่อหนอนโตเต็มที่จะยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ลำตัวมีสีชมพูและมีจุดดำนูนตามลำตัว หากมีการระบาดก็จะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง

การกำจัดหนอนเจาะลำต้น

สามารถทำได้โดยการใช้เชื้อบีทีคือเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ บาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส เรียกย่อๆว่า บีที ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการกำจัดหนอนเจาะลำต้น

สำหรับวิธีการใช้เชื้อบีทีสามารถทำได้ดังนี้

พ่นเชื้อบีทีตามอัตราแนะนำ เช่น บีที ชนิดน้ำตรา 60 -100 มิลลิลิตร หรือ บีที ชนิดผงในอัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และผสมกับสารจับใบ พ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง แต่ละครั้งให้ทิ้งระยะห่างกัน 3-4 วัน และควรปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยให้ละอองยาเกาะผิวใบได้ดี และเพื่อให้เชื้อบีทีมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนดีขึ้น ควรทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

1. ควรสำรวจไร่อยู่เสมอ หากพบหนอนหรือยังเล็กอยู่ ควรรีบฉีดพ่นเชื้อบีทีทันที ซึ่งจะให้ผลในการควบคุมดีกว่ามาพ่นเชื้อ เมื่อพบหนอนตัวใหญ่
2. ควรพ่น BT หลัง 15:00 น ไปแล้วเพราะแสงแดดที่แรงจะทำลายเชื้อบีทีให้ตายได้
3. ฉีดพ่นเชื้อบีทีให้ครอบคลุมกับบริเวณส่วนที่หนอนกัดกิน
4. ไม่ควรผสมเชื้อบีทีกับสารเคมีอื่นๆเพราะอาจทำให้เชื้อบีทีตายได้


ผมไม่รู้ว่าเชื้อบีทีเป็นเชื้ออะไร จนได้รับคำแนะนำให้มาลองใช้ ฉีดพ่นครั้งแรกนอนก็ยังไม่ตายทันที แต่พอดูไปซักระยะหนึ่งนอนก็เริ่มตายมากขึ้น จนได้รู้ว่าวิธีการนี้ใช้ได้ดีจริงๆ

#อ้อย
#หนอนเจาะลำต้น
#แมลง
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.