วันพฤหัสบดี, 2 พฤษภาคม 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนหนอนกออ้อย | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนหนอนกออ้อย

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

หนอนกออ้อยหรือหนอนเจาะลำต้น คือหนอนผีเสื้อที่อาศัยการกินอยู่ภายในหน่ออ้อยหรือลำต้นอ้อย ทำให้ไส้กลวงหรือเกิดเป็นแผลภายใน หากมองจากด้านนอกจะเห็นว่ายอดเหี่ยวและแห้งตาย

หนอนกออ้อยที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด
1. หนอนกอลายจุดเล็ก
2. หนอนกอสีชมพู
3. หนอนกอสีขาว
หนอน 3 ชนิดนี้ พบระบาดอย่างรุนแรงในอ้อยในระยะแตกกอหรืออายุอ้อย 1-4 เดือน
4. หนอนกอลายใหญ่หรือ หนอนกอแถบลาย
5. หนอนกอลายจุดใหญ่
หนอน 2 ชนิดนี้พบระบาดมากในระยะอ้อยเป็นลำ

การกำจัดหนอนกออ้อยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนซึ่งเกิดผลดี
– ขั้นตอนแรกให้เกษตรกรเก็บไข่ของหนอนกออ้อยที่พบในไร่ออกมาทำลาย
– ขั้นตอนที่ 2 ปล่อยศัตรูธรรมชาติของหนอนกออ้อยคือ ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคลแกรมม่า 12,000 ถึง 20,000 ต่อไร่ หรือปล่อยแมลงหางหนีบ 500 ตัวต่อไร่

แตนเบียนจะวางไข่ไว้ในไข่ของหนอนกออ้อย ส่วนแมลงหางหนีบจะกินหนอนกออ้อยเป็นอาหาร แมลง 2 ชนิดนี้สามารถหาได้ไม่ยาก

สำหรับแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่าเกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงด้วยตนเองได้ หรือติดต่อซื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืช 9 แห่งทั่วประเทศ

ส่วนแมลงหางหนีบก็สามารถเพาะเลี้ยงได้ด้วยเช่นกัน หรือติดต่อขอรับจากกรมวิชาการเกษตร เพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เพื่อแจกจ่ายไปยังเกษตรกรโรงงานน้ำตาลและสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ

เมื่อก่อนเจอหนอนกอที่ระบาดมากก็ใช้ยาฉีดแรกๆก็ได้ผลดี แต่นานๆไปหนอนมันดื้อยาฉีดเท่าไหร่มันก็ไม่ตาย ค่ายาค่าแรงงานและสุขภาพก็แย่ด้วย พอหันมาปล่อยแมลงให้กินกันเองนอนก็ที่เคยระบาดหนักๆค่อยๆลดลงเรื่อยๆแทบไม่เจอหนอนกอระบาดหนักๆอีกเลย

#อ้อย
#หนอนกออ้อย
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.