วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคยอดเน่าและใบขีดแดง | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคยอดเน่าและใบขีดแดง

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคยอดเน่าและใบขีดแดงเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ซูโดโมแนส รูไบลิเนียน เมื่อเข้าทำลายอ้อย จะทำให้ยอดเน่าและตาย อาการของโรคเริ่มจากรอยขีดเล็กๆ ฉ่ำน้ำบนใบอ้อยต้นกล้าอ้อย แล้วขยายเป็นรอยขีดยาวสีแดงกว้าง 5- 4 มิลลิเมตร มีอาการตลอดความยาวของใบ และพบรากแห้งบริเวณรอยฉีกด้านหลังใบด้วย เชื้อโรคจะลุกลามเข้าทำลายยอดและน้ำอ้อยทำให้ยอดและลำอ้อยเน่า ใบอ้อยเหลืองยอดแห้ง ถูกดึงหลุดจากลำได้ง่าย และผิวดำบริเวณปล้องก็จะเน่ายุบลง

ส่วนเนื้ออ้อยภายในปล้องก็จะเน่าฉ่ำน้ำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มีขอบสีแดงเข้มใกล้ผิวเปลือก จนกระทั่งลำอ้อยเน่าตายในที่สุด แต่อาการยอดและลำเน่าอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีขีดแดงบนใบก็ได้ อ้อยอาจเน่าตายทั้งกอหรือตายแค่บางลำในกอ ส่วนยอดที่เหี่ยวเมื่อดึงจนหลุดออกมา แล้วส่วนที่ขาดจะเห็นแผลเน่า และเมื่อดมดูจะมีกลิ่นเหม็น

โรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน และอากาศชื้นสูงและโรคก็จะลดการระบาดลงในปลายฤดูฝนเมื่ออากาศเย็นและแห้ง ซึ่งอ้อยจะฟื้นตัวระยะหนึ่งและกลับมาโทรมลงอีกได้ในระยะเก็บเกี่ยว

วิธีการป้องกันและกำจัดโรคยอดเน่าสามารถทำได้ดังนี้
1. เลือกปลูกอ้อยพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคเช่น อู่ทอง 1 เค 88-92 เค 84-200
2. เมื่อเริ่มเห็นอาการใบเหลืองให้ขุดกอที่เป็นโรคไปทำลายอย่างระมัดระวัง และต้องทำขนาดสภาพอากาศแห้งแล้ง เพราะหากขุดหรือตัดอ้อยที่เน่าเละและเคลื่อนย้ายออกจากแปลงในขณะสภาพอากาศชื้น จะทำให้เชื้อแพร่กระจายในแปลงได้เร็วมากขึ้น
3. ไม่เร่งใส่ปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจนในขณะที่อ้อยมีอายุน้อย เพราะจะทำให้เนื้อเยื่ออ้อยเต็งและอ่อน ง่ายต่อการทำลายของเชื้อโรคได้
4. หากมีโรคระบาดมากให้ฉีดพ่นกอที่เป็นโรคและกอข้างเคียงด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ 85% ใช้อัตรา 30-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรโ ดยควรฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกัน 10 -14 วัน

คัดเลือกพันธุ์อ้อยที่มีความต้านทานต่อโรค และก็หมั่นเข้าไปดูแลรักษาเก็บในส่วนที่เป็นโรคออกมาทำลายทำการฉีดพ่นสารที่ป้องกันให้ตรงต่อโรค และก็ทำอย่างสม่ำเสมอแล้วก็จะไม่พบอาการอีกเลย

#อ้อย
#โรคยอดเน่า
#ใบขีดแดง
#วิจัย
#รู้ทันศัตรูพืช
#สวก.