วันพุธ, 1 พฤษภาคม 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคใบขาว | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคใบขาว


website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017


โรคใบขาวเป็นโรคที่สำคัญอันดับ 1 ที่สร้างความเสียหายต่อไร่อ้อย ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกที่เป็นดินทราย โรคใบขาวในอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา โดยมีแมลงพาหะคือเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาลปีกลาย และเพลี้ยจักจั่นหลังขาว
สำหรับเชื้อจะทำลายเซลล์ในต้นอ้อย เมื่อเซลล์ตายต้นอ้อยจะแสดงอาการให้เห็นภายนอก คือใบเป็นสีขาว สามารถเกิดกับต้นอ้อยได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ต้นที่เป็นโรคใบขาวถ้าถึงขั้นรุนแรงมากไปจะขาวซีด ลักษณะใบเรียวเล็กกว่าผิดปกติและแตกออกเป็นพุ่มฝอย ต้นไม่ให้ลำหรือถึงขั้นยืนต้นตายได้

วิธีป้องกันและกำจัดโรคใบขาวในอ้อย
1. เกษตรกรควรปลูกอ้อยในฤดูปลายฝนต้นหนาว หรือช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม เพราะเป็นช่วงที่แมลงนำเชื้อโรคมีน้อย
2. หลังจากปลูกอ้อยเสร็จแล้ว ให้หมั่นสำรวจแปลงอ้อยอยู่เสมอ ถ้าพบอ้อยที่เป็นโรคใบขาวขั้นรุนแรงมาก มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นปลูก ที่ควรไถทิ้งเพื่อปลูกใหม่
3. ในขั้นตอนการปลูก เกษตรกรควรเลือกใช้ท่อนพันธุ์อ้อยสะอาด ที่ผ่านขั้นตอนการกำจัดเชื้อโรคด้วยการแช่น้ำร้อน หรือการเพาะเนื้อเยื่อยอดอ่อนในห้องทดลอง จากแปลงพันธุ์อ้อยสะอาดที่น่าเชื่อถือ โดยเกษตรกรสามารถหาซื้อท่อนพันธุ์อ้อยสะอาดเหล่านี้ในราคาถูก จากโรงงานน้ำตาล หรือสอบถามการทำแปลงพันธุ์อ้อยสะอาดด้วยตัวเองจากสำนักงานเกษตรในพื้นที่

เพียงเท่านี้เกษตรกรก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคใบขาวในไร่ของตนเองได้อย่างแน่นอน

เมื่อก่อนโรคใบขาวทำอย่างไรก็ไม่หมดสักที ไถทิ้งแล้วปลูกใหม่ก็ยังไม่หายขาด และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่พอลองมาเปลี่ยนมาใช้ท่อนพันธุ์สะอาดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ไปหาซื้อจากโรงงานน้ำตาลของกลุ่ม นำมาทำแปลงพันธุ์ของตัวเอง ใช้วิธีนี้ทำให้อ้อยที่ปลูกไม่เป็นโรคเลยได้ผลดีจริงๆ

#อ้อย
#โรคใบขาว
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.