วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

รู้ทันศัตรูพืช เรื่องมะม่วงตอน โรคราแป้ง | สวก.

รู้ทันศัตรูพืช เรื่องมะม่วงตอน โรคราแป้ง

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคราแป้งพบได้มากในช่วงฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งและเย็น สามารถเข้าทำลายได้ทั้งกิ่งใบ ดอก ช่อดอกและผลอ่อนของมะม่วง ราแป้งเกิดจากเชื้อรา ออยเดียม แมงกิเฟอร์รี่ โดยจะมองเห็นว่าเป็นเส้นใยสีขาว เมื่อเชื้อราเจริญบนใบจะมองเห็นเป็นรอยของราแป้งเป็นหย่อมๆ จากนั้นจะมีสีเหลืองจางๆ ถ้าสภาพอากาศเหมาะสม ก็จะเห็นเป็นผงสีขาวๆชัดขึ้น และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน แล้วสีค่อยๆเข้มขึ้น ถ้ารุนแรงใบจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงร่วงหล่น จนกระทั่งเกิดเป็นใบไหม้ สำหรับอาการที่ช่อดอกจะขึ้นเป็นผงสีขาวขึ้นฟูตามก้านช่อดอก จนทำให้ดอกร่วงและมักจะเป็นกับช่อดอกที่อยู่ส่วนล่างถึงกลางของลำต้น ช่อดอกที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายการเจริญเติบโตจะลดลง ดอกบานแล้วร่วงในที่สุด

ราแป้งจะพักตัวที่ตาใบและตาดอกมะม่วงเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะยิ่งทำให้มันเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ได้รวดเร็ว นอกจากนั้นยังแพร่ระบาดไปทางลม ในสภาพอากาศแห้งและเย็น

วิธีป้องกันและกำจัดโรคราแป้งทำได้ดังนี้
หมั่นสำรวจแปลงมะม่วงอยู่เสมอ หากพบเชื้อราในปริมาณน้อย ให้ตัดในส่วนมะม่วงที่เป็นโรคเผาทำลาย
หากพบระบาดในระยะออกดอก ให้ทำการฉีดพ่นสารเคมีก่อนดอกบาน 1 ครั้ง หากยังมีโรคระบาดอยู่ ก็ควรพ่นครั้งที่ 2 ในระยะติดผลอ่อน โดยสามารถเลือกใช้สารเคมีได้ชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้ เบโนมิล 50% wp อัตรา 6-12 กรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม 50% wp สารเคมีชนิดผงละลายน้ำ อัตรา 10-12 กรัมหรือ กำมะถันผงอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ที่ผ่านมามักจะพบกับปัญหาโรคราแป้ง แต่เมื่อทำตามคำแนะนำที่ให้มา ก็จะได้ผลดีและทุกวันนี้ผลผลิตก็ดีขึ้นขายได้เงินได้ทองมามากมาย



#มะม่วง
#โรคราแป้ง
#วิจัย
#แมลง
#โรคพืช
#สวก.