วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

วิธีการกำจัดแก๊สเอทีลีนเพื่อลดการหลุดร่วงของผลลองกอง | สวก.

วิธีการกำจัดแก๊สเอทีลีนเพื่อลดการหลุดร่วงของผลลองกอง | สวก.

0:11 สาเหตุหลักที่ทำให้ผลลองกองหลุดร่วงหรือมีเปลือกสีดำก็คือแก๊สเอทีลีน ที่มาจากการที่ลองกองผลิตแก๊สเอทีลีนในปริมาณเกินกว่า 0.05 PPM และจากการกระตุ้นของเชื้อรา ดังนั้นการแก้ไขปัญหาคือต้องเข้าไปขจัดแก๊สเอทีลีนให้หมดไป ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

0:30 ขั้นตอนการกำจัดแก๊สเอทีลีน
– การกำจัดแก๊สควรเริ่มต้นด้วยขั้นตอนก่อนการเก็บเกี่ยว โดยเริ่มที่สวนลองกอง ควรบริหารจัดการให้ต้นลองกอง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้มีแสงแดดส่องถึงโคนต้นประมาณ 30-40% รักษาสวนให้สะอาดเสมอ พร้อมกับควบคุมเชื้อรา
0:50 – ก่อนเก็บเกี่ยว 3 สัปดาห์ ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราครั้งสุดท้าย เพื่อลดปริมาณเชื้อราในช่อลองกอง ในช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวช่อลองกองอายุ 3 สัปดาห์หลังดอกบาน
1:05 – หลังจากเก็บเกี่ยวให้คัดช่อลองกองที่สมบูรณ์และให้มีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม เพื่อความสะดวกในการบรรจุ หากมีช่อขนาดใหญ่ควรตัดแต่งช่อให้เล็กลง
1:17 – กำจัดแมลงและสิ่งสกปรกและผลเน่าเสียออกให้หมด โดยใช้แปรงและลมแรงเป่าออก เมื่อคัดได้เรียบร้อยให้นำผลที่ได้ทั้งหมดบรรจุสารละลาย NAA และ Prochloraz ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที
1:35 – หลังจากนั้นบรรจุลงตะกร้าที่รองด้วยกระดาษปรูฟ 2 ชั้น และคลุมด้วยผ้าเปียก จะช่วยทำให้ลองกองสดขึ้นในระหว่างการเก็บรักษา
1:45 – ในกระบวนการขนส่งให้ควบคุมอุณหภูมิไว้ 18 องศาเซลเซียส และการระบายอากาศที่ระดับ 2 ปริมาตรห้อง หรือตู้คอนเทนเนอร์ต่อชั่วโมง

ขั้นตอนเพียงเท่านี้จะทำให้ปัญหาผลหลุดดร่วงและปัญหาเปลือกสีดำหมดไปอย่างแน่นอนครับ


สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#ลองกอง #แก๊สเอทีลีน #เชื้อรา
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​