วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบเทอร์โมไซฟอน | สวก.

เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบเทอร์โมไซฟอนสำหรับการผลิตน้ำมันหอมระเหยระดับอุตสาหกรรม


ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรมปลูกสมุนไพรได้เป็นอย่างดี และมีพืชสมุนไพรหลากหลาย เพียงแต่ขาดการเพิ่มมูลค่าในรูปแบบให้มีมูลค่าสูงและยั่งยืน โครงการวิจัยนี้จึงเห็นสมควรที่จะพัฒนารูปแบบการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเพื่อเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทย ให้สามารถจำหน่ายได้ ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ใช้วัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรขายวัตถุดิบสำหรับการผลิตน้ำมันหอมระเหยได้ จึงเป็นที่มาของการดำเนินโครงการวิจัยในครั้งนี้

โครงการวิจัยการพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบเทอร์โมไซฟอน มีวัตถุประสงค์คือเพื่อกลั่นน้ำมันหอมระเหยให้ได้คุณภาพดี เพิ่มความคุ้มค่าในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยให้ได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่คุ้มกับการผลิตกับวัตถุดิบที่นำมาใส่ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยในแต่ละครั้งใช้เวลาในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยค่อนข้างนาน ในระดับอุตสาหกรรมใช้เวลา 6 ชั่วโมง 8 ชั่วโมงถึง 12 ชั่วโมง ถ้าสามารถลดระยะเวลาในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยลง จะเป็นการลดต้นทุนในการผลิตน้ํามันหอมระเหย และในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยแต่ละครั้ง สามารถได้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่ใส่เข้าไป ก็จะเกิดความคุ้มค่า นอกจากจะสามารถลดต้นทุนแล้ว ยังสามารถขายน้ำมันหอมระเหยได้ในปริมาณมาก ทำให้เกิดรายได้ มีเงินหมุนเวียนซื้อขายวัตถุดิบเกษตรกรได้

จุดเด่นของโครงการคือเป็นการทดลองการกลั่นน้ำมันหอมระเหย หรือการทำงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยทำในระดับอุตสาหกรรมโรงงานกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดใหญ่ โดยใช้เครื่องขนาด 500 ลิตร จำนวน 2 เครื่อง เพื่อทำการเปรียบเทียบการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ในส่วนของเครื่องที่ทำการศึกษาจุดเด่นของโครงการคือ ได้ทำการติดตั้งท่อเทอร์โมไซฟอนเข้าไปในเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย โดยท่อเทอร์โมไซฟอนเป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานจากภายนอกเพื่อให้สามารถทำงานได้ ท่อเทอร์โมไซฟอนสามารถทำงานได้เมื่อถูกความร้อนมากระตุ้น ดังนั้นจึงนำท่อเทอร์โมไซฟอนใส่เข้าไปในเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย โดยให้ท่อเทอร์โมไซฟอนรับความร้อนจากห้องเผาไหม้ คือแก๊ส LPG โดยตรง แล้วก็ดึงความร้อนเข้ามาภายในหม้อกลั่น ผ่านชั้นวัตถุดิบต่าง ๆ ทำให้เกิดการกระจายความร้อนภายในหม้อกลั่นน้ำมันหอมระเหยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง หลังจากหม้อกลั่นได้รับความร้อนจากท่อเทอร์โมไซฟอนและจากการต้มน้ำปกติแล้ว นั่นก็หมายความว่าหม้อกลั่นจะร้อนเร็วขึ้น จนถึงอุณหภูมิที่จะทำการกลั่น ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการกลั่นลงได้ ประการที่ 2 คือเมื่อความร้อนกระจายได้ทั่วถึงภายในหอกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบเทอร์โมไซฟอนแล้ว ก็จะทำให้การผลิตน้ำมันหอมระเหยแต่ละครั้ง ได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งจากการทดลองทำการศึกษาและวิจัยแล้ว เครื่องกลั่นแบบติดตั้งท่อเทอร์โมไซฟอนแนวโน้มที่จะได้น้ำมันหอมระเหยเพิ่มมากขึ้น ใช้ระยะเวลาในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยลดลง ใช้เชื้อเพลิงในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยลดลงแล้ว ลดต้นทุนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยลงได้เป็นอย่างดี ก็นับว่าเป็นจุดเด่นของโครงการวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดและเผยแพร่ได้

ความคุ้มค่าของโครงการวิจัย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว ได้จดสิทธิบัตรเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบเทอร์โมไซฟอน ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ร่วมกันระหว่างสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หากได้รับความสนใจนะครับการกลั่นน้ำมันหอมระเหยกันอย่างกว้างขวาง การกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบในการกลั่นแต่ละครั้งใช้วัตถุดิบจำนวนมาก เกษตรกรก็จะสามารถขายวัตถุดิบสำหรับการกลั่นน้ำมันหอมระเหยได้ในปริมาณมาก ก่อให้เกิดรายได้ให้กับเกษตรกรโดยตรง มีเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นในชุมชนที่ปลูกสมุนไพร ลดต้นทุนในเรื่องของการผลิตน้ํามันหอมระเหย สร้างสินค้าใหม่ๆเมื่อการผลิตน้ํามันหอมระเหยได้ในปริมาณเพิ่มมากขึ้น ก็สามารถนำไปต่อยอดสินค้าใหม่ๆได้

#เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย
#เทอร์โมไซฟอน
#เครื่องกลั่นน้ำมัน
#งานวิจัย
#สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017