โครงการการวิจัยและพัฒนาหัวตรวจวัดสารแคปไซซินโดยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้าและสร้างดัชนีสัมพันธ์ความเผ็ดเพื่อบ่งชี้ความเผ็ดสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
หนึ่งในรางวัลเกียรติยศ “ผลงานเด่น สวก.” ปี 2557
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการทางเคมีไฟฟ้า เพื่อวัดปริมาณความเผ็ดที่เกิดจากสารแคปไซซิน หรืออนุพันธ์ของแคปไซซิน แล้วนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
เหตุที่สนใจความเผ็ด คือความเผ็ดมีความผันแปรค่อนข้างสูงพริก 3 เม็ด ที่ปลูกจากแหล่งต่างๆกัน หรือสายพันธุ์ต่างกัน ฤดูกาลที่ต่างกัน ก็ให้ความเผ็ดที่ไม่เท่ากัน ในขณะเดียวกันถ้าใช้คนชิม คนชิมก็มีความรู้สึกที่เกิดจากความเผ็ดที่ไม่เท่ากันเช่นกัน จึงมีความผันแปรสูง จึงต้องการหาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถวัดได้
เทคนิคที่ใช้คือการวัดความเผ็ดจากสิ่งที่เป็นสารแคปไซซินและอนุพันธ์ของแคปไซซิน โดยวิธีทางเคมีไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่บนผิวหน้าของขั้วอิเล็กโทรตหรือเซ็นเซอร์แล้วก็ให้สัญญาณทางไฟฟ้าออกมา สัญญาณทางไฟฟ้าก็แปรผันตรงกับปริมาณของแคปไซซิน และก็ไปเทียบกับหน่วยความเผ็ดที่เรียกว่า Scoville heat unit แล้วบ่งชี้ออกมาว่ามีปริมาณ SHU จำนวนเท่าไร นี่คือเทคนิคที่ดำเนินการของงานวิจัย
ประโยชน์ของงานวิจัยนี้คือ ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ที่มีในเรื่องของรสชาติในเชิงความเผ็ดสามารถนำไปใช้ในการตรวจวัด และก็ควบคุมความเผ็ดโดยใช้เครื่องมือวัด
“งานวิจัยในทรรศนะของผมก็คือ สิ่งที่เราอยากจะเข้าใจจากปัญหาหรือโจทย์ที่เรามีความสนใจอยากจะเห็นสิ่งนั้นเกิดเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ ขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ทำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศได้ ” รศ.ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย
#วัดความเผ็ด #พริก #แคปไซซิน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
หนึ่งในรางวัลเกียรติยศ “ผลงานเด่น สวก.” ปี 2557
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการทางเคมีไฟฟ้า เพื่อวัดปริมาณความเผ็ดที่เกิดจากสารแคปไซซิน หรืออนุพันธ์ของแคปไซซิน แล้วนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
เหตุที่สนใจความเผ็ด คือความเผ็ดมีความผันแปรค่อนข้างสูงพริก 3 เม็ด ที่ปลูกจากแหล่งต่างๆกัน หรือสายพันธุ์ต่างกัน ฤดูกาลที่ต่างกัน ก็ให้ความเผ็ดที่ไม่เท่ากัน ในขณะเดียวกันถ้าใช้คนชิม คนชิมก็มีความรู้สึกที่เกิดจากความเผ็ดที่ไม่เท่ากันเช่นกัน จึงมีความผันแปรสูง จึงต้องการหาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถวัดได้
เทคนิคที่ใช้คือการวัดความเผ็ดจากสิ่งที่เป็นสารแคปไซซินและอนุพันธ์ของแคปไซซิน โดยวิธีทางเคมีไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่บนผิวหน้าของขั้วอิเล็กโทรตหรือเซ็นเซอร์แล้วก็ให้สัญญาณทางไฟฟ้าออกมา สัญญาณทางไฟฟ้าก็แปรผันตรงกับปริมาณของแคปไซซิน และก็ไปเทียบกับหน่วยความเผ็ดที่เรียกว่า Scoville heat unit แล้วบ่งชี้ออกมาว่ามีปริมาณ SHU จำนวนเท่าไร นี่คือเทคนิคที่ดำเนินการของงานวิจัย
ประโยชน์ของงานวิจัยนี้คือ ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ที่มีในเรื่องของรสชาติในเชิงความเผ็ดสามารถนำไปใช้ในการตรวจวัด และก็ควบคุมความเผ็ดโดยใช้เครื่องมือวัด
“งานวิจัยในทรรศนะของผมก็คือ สิ่งที่เราอยากจะเข้าใจจากปัญหาหรือโจทย์ที่เรามีความสนใจอยากจะเห็นสิ่งนั้นเกิดเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ ขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ทำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศได้ ” รศ.ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย
#วัดความเผ็ด #พริก #แคปไซซิน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง