วันพุธ, 15 พฤษภาคม 2567

เครื่องล้างผักผลไม้ด้วยอัลตราโซนิกส์ และการแช่อิ่มอบแห้ง | สวก.

โครงการ การพัฒนาเครื่องล้างผักและผลไม้ด้วยอัลตราโซนิกส์ สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร
เครื่องล้างผักผลไม้ด้วยอัลตราโซนิกส์ เบื้องต้นได้พัฒนาเครื่องขนาดเล็กก่อน ใช้ล้างผักผลไม้เพื่อที่จะกำจัดแมลงที่มีขนาดเล็กๆที่เกาะติดอยู่ รวมทั้งพวกแบคทีเรีย รวมไปถึงการกำจัดยาฆ่าแมลงด้วย ในตอนเริ่มต้นจะทำงานร่วมกับ อ.ศิริชัย ส่งเสริมพัน จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยอาจารย์ได้นำเครื่องไปทดลองล้างและทดสอบ พบว่าสามารถที่จะลดปริมาณจุลินทรีย์ที่ติดอยู่กับผักผลไม้ลงได้ 80% หลังจากนั้นมีผู้สนใจนำเครื่องไปใช้ประโยชน์มากมาย จนมาถึงผู้ที่ต้องการใช้ในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ทาง สวก. จึงให้ทุนสนับสนุนในการที่จะพัฒนาเครื่องให้เป็นขนาดใหญ่ เพื่อที่จะสามารถใช้ในอุตสาหกรรม หรือใช้ในการผลิตผลทางการเกษตรที่ต้องการที่จะล้างในจำนวนมาก อย่างเช่น บริษัทที่ส่งผักผลไม้ออกไปต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหาเรื่องสารเคมีตกค้างอยู่ในผัก ทางบริษัทจึงได้นำเครื่องไปทดลองล้าง ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี
ในนามของบริษัทผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ได้ยืมเครื่องล้างผักมาจาก สวก. ปกติแล้วเราก็จะล้างผักจำพวก คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ซึ่งมีเก็บตัวอย่างผักไปตรวจสอบ หลังจากที่ตรวจาสอบก็พบว่า เครื่องล้างผักอัลตราโซนิกส์ สามารถลดสารเคมี และลดแมลงลงได้จริง ทั้งนี้ในนามของบริษัทขอขอบพระคุณทาง สวก. ที่ได้มอบเครื่องล้างผักอัลตราโซนิกส์ให้กับโครงการ
ขั้นตอนในการล้างผัก ก่อนอื่นจะแช่ด่างทับทิมเป็นเวลา 5 นาที หลังจากนั้นจะล้างด้วยน้ำเปล่า 1 รอบ แล้วนำมาใส่เครื่องล้างผักอัลตราโซนิกส์ประมาณ 3 นาที หลังจากที่เปิดเครื่องสักพักก็จะมีแมลงลอยขึ้นมา

โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการแช่อิ่มอบแห้งผลไม้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและไมโครเวฟในการผลิตเชิงพาณิชย์
หลังจากที่ขยายผลจากเครื่องล้างผักอัลตราโซนิกส์ ได้มีการนำเครื่องใช้ต่อเนื่องในอีกหลายประการ ที่เห็นประโยชน์จากการใช้คลื่นอัลตร้าโซนิกส์ เช่น มีการนำมาใช้ในกระบวนการแช่อิ่มอบแห้ง ซึ่งกระบวนการแช่อิ่มอบแห้ง เดิมจะต้องนำผลไม้ที่ต้องการแช่อิ่ม ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ หรือมะม่วง ต้องแช่ในน้ำเชื่อมเป็นเวลานาน เพื่อที่จะให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในตัวผลไม้ เพื่อให้มีอายุการเก็บได้ยาวขึ้น กระบวนการเดิมใช้เวลาหลายวัน แต่พอเวลามาใช้ด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกส์ ตัวเครื่องช่วยทำให้ตัวน้ำเชื่อมเข้าไปในผลไม้ได้เร็วขึ้น ทำให้กระบวนการแช่อิ่มและสั้นลง ผลดีจากการที่ใช้ระยะเวลาแช่อิ่มสั้น ทำให้ไม่ต้องใช้สารกันบูด ทำให้มีประสิทธิภาพในการแช่อิ่มอบแห้งดีขึ้น ด้วยการใช้คลื่นอัลตร้าโซนิกส์
จากการที่ได้ทดลองใช้เครื่องล้างผักที่เป็นอัลตร้าโซนิคนำมาทำแช่อิ่มอบแห้ง มาเปรียบเทียบกับการแช่อิ่มปกติ พบว่าการที่ใช้เครื่องตัวนี้ในการแช่อิ่ม ทำให้เราประหยัดเวลาหลายเท่าตัว สิ่งที่เราได้คือ เราไม่ต้องใช้สารกันบูดในกระบวนการ ซึ่งมันเป็นแนวโน้มที่สำคัญในเรื่องของการผลิตผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง ซึ่งตรงนี้คิดว่าถ้ามีการพัฒนาเครื่องอัลตร้าโซนิกส์ ให้มีขนาดที่เหมาะสม ให้มีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่องกัน คิดว่าเครื่องอัลตร้าโซนิกส์นี้จะมีอนาคตมากในการผลิตผลไม้อบแห้งในอนาคต

จากตัวอย่างคือผลผลิตที่อบแห้งมาแล้วประมาณ 1 ปี จะเห็นได้ว่าสีสันแล้วก็คุณภาพของเนื้อผลไม้ จะคงสภาพได้ดีเทียบเท่ากับการทำในระบบปกติ เพราะฉะนั้นเป็นที่ยืนยันได้ว่าการที่เราอบแห้งด้วยอัลตร้าโซนิกส์ การแช่น้ำเชื่อมด้วยอัลตร้าโซนิกส์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ

#อัลตราโซนิกส์ #ล้างผัก #แช่อิ่มอบแห้ง
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017