วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

เทคโนโลยีเกษตร ช่วยยืดอายุกล้วยไม้ส่งออก เทคโนโลยีฟองก๊าซ

20 เม.ย. 2020
334
เทคโนโลยีเกษตร ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ อาจารย์และนักวิจัย คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี กับงานวิจัยการใช้ฟองก๊าซ 1-MCP ขนาดไมโคร
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
ในการชะลอการเสื่อมสภาพหลังการเก็บเกี่ยวและยืดอายุปักแจกันดอกกล้วยไม้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีฟองก๊าซขนาดไมโคร เอามาประยุกต์ใช้กับการชะลอการเสื่อมสภาพและยืดอายุการปักแจกันของดอกกล้วยไม้เพื่อการส่งออก ถ้าพูดถึงกล้วยไม้เขตร้อน ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกที่ส่งออกดอกกล้วยไม้เขตร้อน ก่อนหน้านี้ การยืดอายุดอกกล้วยไม้หลายบริษัทในประเทศไทย จะใช้สารเคมีตัวหนึ่งที่เรียกชื่อย่อว่า 1-MCP ซึ่งสารตัวนี้มีคุณสมบัติเป็นแก๊ส เขาจะใช้วิธีการรมดอกกล้วยไม้ ก่อนที่จะเอาไปแพ็คหรือบรรจุกล่องแล้วนำส่งออก ในความเป็นจริง ในอุตสาหกรรมเวลาส่งออก ไม่สามารถรอได้ 6-12 ชั่วโมง เพราะว่ากล้วยไม้มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นมาก พอตัดมาจากสวน เราต้องรีบ Process ทันที เพื่อที่จะส่งออกให้ทันในวันนั้นหรือเช้าวันถัดไป อันนี้เป็นข้อจำกัดหนึ่งของวิธีการดั้งเดิม

งานวิจัยนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบอย่างไร? ส่งออกกล้วยไม้ เราไปรู้จักเทคโนโลยีการสร้างฟองก๊าซขนาดไมโคร จึงเปลี่ยนจากวิธีการรมแบบดั้งเดิมที่ใช้ระยะเวลานาน เปลี่ยนจากวิธีการรมมาเป็นการจุ่ม พอเราเอากล้วยไม้จุ่มเข้าไปในน้ำที่มีฟองก๊าซ 1-MCP ขนาดไมโครอยู่หนาแน่น ฟองนี้มีคุณสมบัติที่จะแทรกซึมเข้าไปในทุกส่วนของกล้วยไม้ เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพในการชะลอการเสื่อมสภาพของ1-MCP จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบดั้งเดิมหลายเท่าตัว นักวิจัยร่วมกัน รศ.วาริช ศรีละออง อธิบายหลักการในการใช้งาน เริ่มต้นจากนำเอา 1-MCP ที่เป็นเม็ดหรือผงบรรจุลงในตัวภาชนะบรรจุ หลังจากที่มีการผสมกับน้ำเสร็จแล้ว จะมีการปลดปล่อยก๊าซ1-MCP ออกมา เวลาใช้งานจริงๆ เราก็ทำการเดินระบบ ให้ระบบของเราทำหน้าที่ดูดก๊าซบรรจุเข้าไปสู่ในระบบตัวนี้ แล้วก็ไหลลงไปสู่ในน้ำทำให้ตัว1-MCP ในลักษณะที่เป็นก๊าซสามารถละลายน้ำได้มากขึ้น เวลาใช้งานก็คือใช้งานในลักษณะที่1-MCP ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งต่างจากปกติที่เราใช้ในรูปแบบที่เป็นก๊าซ ข้อดีของฟองก๊าซขนาดเล็ก คือ เวลาเราจุ่มสินค้าเกษตรลงไป น้ำจะมีการแทรกตัวเข้าไปทุกส่วนในตัวสินค้า ซึ่งต่างจากระบบที่เป็นก๊าซบางทีจะอยู่แค่ภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถไปสัมผัสกับตัวสินค้าได้ ดังนั้นประสิทธิภาพในการดูดซับของสาร1-MCP โดยการใช้ระบบนี้ จะดีกว่าการรมโดยปกติทั่วไป

งานวิจัยถนอมดอกไม้นี้ใครได้รับประโยชน์? ผู้ประกอบการส่งออกกล้วยไม้ เพราะว่าปัจจุบันมีปัญหามากเวลาส่งออกกล้วยไม้ไปต่างประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่นหรืออเมริกา ที่เขาพบว่าเวลาส่งไปแล้ว ประสบปัญหาการเสื่อมสภาพ เวลาเปิดกล่องออกมาแล้วกล้วยไม้ไม่ได้คุณภาพ เทคโนโลยีนี้ก็สามารถที่จะลดการสูญเสียได้ และเพิ่มมูลค่าของสินค้ากล้วยไม้ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
“เทคโนโลยีช่วยยืดอายุกล้วยไม้ส่งออก จากผลงานของนักวิจัยไทย จะช่วยเกษตรกรและผู้ส่งออกได้ขนาดไหน” หาคำตอบได้ในตอนนี้
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#เทคโนโลยีเกษตร #ส่งออกกล้วยไม้ #ถนอมดอกไม้ #เกษตรพอเพียง #เกษตรพารวย
#เกษตรใครๆก็เก็ตได้กับสวก.
#เกษตรก้าวไกลกับสวก.
#ARDA
#ทุนวิจัยเกษตร


สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน