วันพุธ, 18 ธันวาคม 2567

แนวทางการจัดการอาหารแพะนม ช่วงก่อนและหลังคลอด | สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

แนวทางการจัดการอาหารแพะนมช่วงก่อนและหลังคลอด

ธรรมชาติร่างกายของแม่แพะ จะผลิตน้ำนมเพิ่มมากขึ้นตามธรรมชาติ แต่แม่แพะจะยังกินอาหารได้น้อย ไม่พอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากกระเพาะที่ถูกเบียดจากลูกแพะขณะตั้งท้อง ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใส่ใจการจัดการอาหารตามวงรอบของการผลิตนมแพะ ซึ่งการจัดการอาหารและนม จะมีอยู่ 4 ระยะคือ

– ระยะที่ 1 เป็นระยะแพะท้อง 4 เดือนถึงก่อนคลอด ซึ่งการให้อาหารแพะนมในระยะนี้ เกษตรกรควรให้อาหารหยาบคุณภาพดี และต้องมีอาหารหยาบให้แพะนมกินตลอด 24 ชั่วโมง
– ระยะที่ 2 คือระยะและหลังคลอดใหม่ ถึงระยะให้นมสูงสุด ซึ่งการให้อาหารในช่วงนี้ จะให้อาหารมากกว่าความต้องการเล็กน้อย และให้อาหารข้นที่มีสารอาหารสูง พร้อมกับอาหารหยาบที่ดี
– ระยะที่ 3 คือระยะหลังให้นมสูงสุดและท้อง 1-3 เดือน ซึ่งในช่วงนี้ต้องให้อาหารข้นตามปริมาณน้ำนม ปริมาณ 400 ถึง 500 กรัมต่อปริมาณน้ำนม 1 กิโลกรัม และให้อาหารหยาบแพะกินตลอดเวลา
– ระยะที่ 4 คือระยะช่วงแห้งนม และพักท้อง 3 เดือน เกษตรกรต้องหยุดการให้อาหารข้น แต่ให้อาหารหยาบคุณภาพดีเท่านั้น

ซึ่งหากแพะนมได้ปริมาณอาหารตามปริมาณความต้องการ ในแต่ละช่วงวัยที่พอดีแล้ว จะทำให้แพะนมให้ผลผลิตที่มากขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

#อาหารแพะ
#นมแพะ
#ดูแลแพะ
#เกษตรกร
#วิจัย
#สวก.