วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

แมลงหล่า ศัตรูข้าวที่ต้องเฝ้าระวังการระบาด | สวก.

แมลงหล่า ศัตรูข้าวที่ต้องเฝ้าระวังการระบาด

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ มีปัญหาหลักที่พบในพื้นที่นาเขตชลประทานคือการระบาดอย่างหนักของแมลงศัตรูข้าวหลายชนิด สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท แม้จะมีการปลูกข้าวสายพันธุ์ต้านทานแมลงศัตรูพืช แต่แมลงศัตรูข้าวหลายชนิดมีความสามารถในการปรับตัวให้สามารถทำลายพันธุ์ข้าวต้านทาน หลังจากที่มีการปลูกข้าวสายพันธุ์ต้านทานต่อเนื่องกันเป็นระยะมากกว่า 6 ถึง 8 ฤดูปลูก

แมลงหล่า Scotinophara Coarctata (Fabricious) เป็นแมลงปากแบบเจาะดูด จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าว บริเวณโคนต้นข้าว สร้างความเสียหายให้แก่ต้นข้าว โดยพบการระเบิดครั้งแรกที่จังหวัดนราธิวาส ในปีพุทธศักราช 2539 ต่อมาพบการทำลายข้าวในเขตพื้นที่ภาคกลาง โดยมีการระบาดหนักในบางพื้นที่นาชลประทาน เช่น จังหวัดพิษณุโลก ปทุมธานี อยุธยา ชัยนาท เป็นต้น ทำความเสียหายมาจนถึงปัจจุบัน

แมลงหล่า สามารถเข้าทำลายข้าวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต กรณีที่มีการระบาดอย่างรุนแรง ต้นข้าวจะเหี่ยวแห้งตาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวอย่างมาก การป้องกันกำจัดแมลงหล่าชนิดนี้ทำได้ยาก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลสำคัญทางชีววิทยา โดยจำแนกระยะต่างๆตั้งแต่ ระยะไข่จนกระทั่งพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย เพื่อใช้ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการระบาดของแมลงหล่า ระยะไข่ แมลงหล่าวางกลุ่มไข่แต่ละครั้งประมาณ 25 – 50 ฟองต่อกลุ่ม ผิวของเปลือกไข่มีลักษณะเรียบ สีเปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากสีเขียวเทาอ่อนจนกระทั่งเป็นสีชมพูเข้ม
เมื่อเวลาที่ตัวอ่อนใกล้จะฟักออกจากไข่ ส่วนปลายจะถูกเคลือบด้วยสารเหนียว ช่วยให้ไข่ติดอยู่บนลำต้นข้าว ส่วนบนมีฝา บนฝามีรูเล็กๆเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออก ระยะฟักตัวของไข่อยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน เมื่อตัวอ่อนใกล้จะออกจากกลุ่มไข่แล้ว จะเห็นส่วนหัวของแมลงพร้อมจุดตา 2 จุด ระยะตัวอ่อนรูปร่างลักษณะทั่วๆไป ตัวอ่อนคล้ายตัวเต็มวัยและขนาดเล็กกว่าไม่มีปีก ระบบยังไม่สมบูรณ์ ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาประมาณ 29 ถึง 40 วัน

เกณฑ์พิจารณาการแบ่งระยะตัวอ่อนได้แก่ การพัฒนาของส่วน หัว อก และท้อง สีและความยาวของลำตัว การพัฒนาของตุ่มปีก Wing pads ระยะส่วนเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำตาลมันวาว แมลงหล่า Scotinophara Coarctata เป็นชนิดเด่นในประเทศไทย มีลักษณะเด่นที่แยกจากแมลงหล่าชนิดอื่น คือส่วนของ Anterolateral Spines ชี้พุ่งตรงไปด้านข้างและขอบด้านข้าง และหนามบริเวณไหล่สั้นและชี้พุ่งตรง

จุดสังเกตุที่ใช้ในการแยกเพศของตัวเต็มวัยแมลงหล่า คืออวัยวะสืบพันธุ์ Genitalia Organs บริเวณส่วนปลายของปล้องท้อง นอกจากนี้ยังพบว่าแมลงหล่ามีอัตราการตายที่สูงมากในช่วงต้นของชีวิต โดยการตายในช่วงตัวอ่อนลงถึง 93% แต่รอดชีวิตไปแล้ว ในภาวะที่ไม่มีการระบาดรุนแรงและเพศเมีย 1 ตัว สามารถขยายพันธุ์เป็นรุ่นต่อไปที่เป็นเพศนี้ให้ถึง 3-4 ตัว

การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแมลงหล่าที่ระบาดในประเทศไทย จะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและพลวัตของประชากร พฤติกรรม การตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพ และรูปแบบการกระจายตัวของแมลงหล่าเพื่อให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มการแพร่ระบาดของแมลงหล่าและนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานวิจัยการกำจัดแมลงหล่าต่อไป

#แมลงหล่า
#กำจัดแมลง
#ศัตรูข้าว
#วิจัย
#สวก