วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

โรคปลาช่อน รู้ก่อนป้องกันก่อน | สวก.

โรคปลาช่อน รู้ก่อนป้องกันก่อน | สวก.

ปัญหาหนึ่งที่ผู้เลี้ยงปลาช่อน มักประสบอยู่เสมอคือการเกิดโรค ถ้าเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดและสาเหตุของการเกิดโรค รวมทั้งวิธีการป้องกันรักษา ก็จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงปลานั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โรคที่สำคัญของปลาช่อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย และพยาธิ โดยจะแบ่งเป็น
1.โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมี 5 ชนิดคือ แอโรโมนาส โฮโดรฟิลา เฟลคซิแบคเตอร์ คอลัมนาริส ไมโครแบคทีเรีย แบคทีเรียทั้ง 5 ชนิด จะทำให้ปลาช่อนมีลักษณะอาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกร็ด เกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดงๆ สีดำตัวซีด หรือมีด่างขาว เมือกมากผิดปกติ เกล็ดหลุด แผลเน่าเปื่อย ว่ายน้ำผิดปกติ เสียการทรงตัว หรือตะแคงข้าง เอาตัวซุกขอบบ่อ ครีบเปื่อยแหว่ง ตาฟาง หรือขุ่นขาว ตาบอด ปลาจะกินอาหารน้อยลง
2.โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิ เห็บระฆัง ปลิงใส และอื่นๆ พยาธิระฆัง จะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวและเหงือก การรักษาคือใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง
3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ลักษณะอาการตัวผอม และกินอาหารลดลง

การเลี้ยงปลาช่อนด้วยวิธีการที่เคยกล่าวมาแล้ว ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ จนถึงการดูแลป้องกันโรค เป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเลี้ยงปลาช่อน ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่ติดชาร์ตในอันดับของปลาเศรษฐกิจของประเทศ หากทุกท่านใส่ใจและมีความรู้เกษตรกรทุกคนจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาช่อน

#ปลาช่อน #โรค #เลี้ยงปลา #วิจัย #สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017