การขยายพันธุ์สับปะรด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ระบบไบโอรีแอคเตอร์
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การขยายพันธุ์สับปะรดแบบเดิม เกษตรกรต้องนำต้นแม่พันธุ์มาปลูกก่อน ซึ่งจะใช้เวลานานจึง 20 เดือน จึงจะทำให้เกิดหน่อใหม่ จำนวนเพียง 2-3 หน่อต้น และจำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ปลูกปริมาณมาก เนื่องจากการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ จะให้หน่อประมาณ 12 ต้นต่อตารางเมตร
ปัจจุบันจึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มาช่วยในการขยายพันธุ์พืช มีทั้งการเพาะในสูตรอาหารกึ่งแข็ง คือการผสมผงวุ้นลงไป และการเพาะเลี้ยงในระบบอาหารเหลว จากการวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้พบว่าการเพาะเลี้ยงสับปะรดในระบบไบโอรีแอคเตอร์ ซึ่งเป็นการเลี้ยงในอาหารเหลวแบบกึ่งจมและใช้ขวดคู่ สามารถเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ได้นับแสนต้นแค่ใช้เวลาเพียง 8 เดือน และเมื่อคิดอัตราส่วนการผลิตต้นพันธุ์ จะสามารถผลิตได้ถึง 10,000 ต้นต่อตารางเมตร
การวิจัยนี้เมื่อเราเปรียบเทียบวิธีการขยายพันธุ์ต้นสับปะรดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบไบโอรีแอคเตอร์ กับการเลี้ยงในสูตรอาหารที่มีผงวุ้นหรืออาหารกึ่งแข็ง จะพบว่าระบบไบโอรีแอคเตอร์ จะทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นได้เร็วมากกว่า อีกทั้งยังสามารถประหยัดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เกือบ 5 เท่า ประหยัดระยะเวลาขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงได้ถึง 3 เท่า ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 2 เท่า ซึ่งปัจจุบันการประหยัดค่าแรงในการเปลี่ยนย้ายต้นพันธุ์พืชหรือค่าแรงงาน นอกจากนี้ยังสามารถลดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงได้ถึง 7 เท่า
จะเห็นได้ว่าระบบไบโอรีแอคเตอร์ สามารถผลิตต้นพันธุ์สับปะรดได้ไวกว่าแล้วก็ประหยัดต้นทุนกว่าธรรมดา
#สับปะรด
#เพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ
#ต้นพันธุ์
#วิจัย
#สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การขยายพันธุ์สับปะรดแบบเดิม เกษตรกรต้องนำต้นแม่พันธุ์มาปลูกก่อน ซึ่งจะใช้เวลานานจึง 20 เดือน จึงจะทำให้เกิดหน่อใหม่ จำนวนเพียง 2-3 หน่อต้น และจำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ปลูกปริมาณมาก เนื่องจากการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ จะให้หน่อประมาณ 12 ต้นต่อตารางเมตร
ปัจจุบันจึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มาช่วยในการขยายพันธุ์พืช มีทั้งการเพาะในสูตรอาหารกึ่งแข็ง คือการผสมผงวุ้นลงไป และการเพาะเลี้ยงในระบบอาหารเหลว จากการวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้พบว่าการเพาะเลี้ยงสับปะรดในระบบไบโอรีแอคเตอร์ ซึ่งเป็นการเลี้ยงในอาหารเหลวแบบกึ่งจมและใช้ขวดคู่ สามารถเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ได้นับแสนต้นแค่ใช้เวลาเพียง 8 เดือน และเมื่อคิดอัตราส่วนการผลิตต้นพันธุ์ จะสามารถผลิตได้ถึง 10,000 ต้นต่อตารางเมตร
การวิจัยนี้เมื่อเราเปรียบเทียบวิธีการขยายพันธุ์ต้นสับปะรดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบไบโอรีแอคเตอร์ กับการเลี้ยงในสูตรอาหารที่มีผงวุ้นหรืออาหารกึ่งแข็ง จะพบว่าระบบไบโอรีแอคเตอร์ จะทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นได้เร็วมากกว่า อีกทั้งยังสามารถประหยัดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เกือบ 5 เท่า ประหยัดระยะเวลาขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงได้ถึง 3 เท่า ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 2 เท่า ซึ่งปัจจุบันการประหยัดค่าแรงในการเปลี่ยนย้ายต้นพันธุ์พืชหรือค่าแรงงาน นอกจากนี้ยังสามารถลดพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงได้ถึง 7 เท่า
จะเห็นได้ว่าระบบไบโอรีแอคเตอร์ สามารถผลิตต้นพันธุ์สับปะรดได้ไวกว่าแล้วก็ประหยัดต้นทุนกว่าธรรมดา
#สับปะรด
#เพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ
#ต้นพันธุ์
#วิจัย
#สวก.