วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน 2567

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคแส้ดำ | สวก.

รู้ทันศัตรูพืชเรื่องอ้อย ตอนโรคแส้ดำ

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

โรคแส้ดำเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ต้นอ้อยที่มีอาการรุนแรงอาจแห้งตายได้ ผลผลิตโดยรวมอาจลดลง 8-18 % ความหวานอาจลดลง 10-28 %
อาการของโรคแส้ดำ ส่วนยอดของลำอ้อยมีลักษณะคล้ายแส้ ความยาวตั้งแต่ 1-2 เซนติเมตรไปจนถึง 1.5 เมตร แส้จะเต็มไปด้วยเขม่าสีดำ ลำต้นของอ้อยที่เป็นโรคส่วนใหญ่แคระแกร็น

การแพร่ระบาดของโรคแส้ดำในอ้อย
1. ท่อนพันธุ์อ้อยติดเชื้อ
2. มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในดิน เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่จากดินเข้าสู่อ้อยที่ปลูกใหม่ได้
3. ลมที่พัดลมที่พัดพาเขม่าดำแพร่กระจาย

วิธีป้องกันและกำจัดโรคแส้ดำในอ้อย

1. เกษตรกรควรใช้ท่อนพันธุ์สะอาด ปลอดโรค จากแปลงพันธุ์ที่เชื่อถือได้ เช่นแปลงพันธุ์จากโรงงานน้ำตาล
2. เกษตรกรควรใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น อู่ทอง 1อู่ทอง 2 อู่ทอง 3 อู่ทอง 4 หรือพันธุ์แนะนำอื่นๆ เช่น พันธุ์สอน. 12
3. เกษตรกรควรหมั่นเดินตรวจไร่ เพื่อทำลายต้นที่เป็นโรคไม่ให้เป็นแหล่งที่แพร่กระจายเชื้อได้ แต่ถ้าพบการระบาดมากกว่า 10 % ของพื้นที่ปลูกให้ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดโรค

สารเคมีที่แนะนำในการกำจัดโรคแส้ดำในอ้อย

โปรพิคโคนาโซล 25 % สารเคมีในรูปแบบน้ำในอัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ปลูก ถ้ายังพบการระบาดของโรคแส้ดำให้ฉีดพ่นสารซ้ำอีกครั้ง

#อ้อย
#โรคแส้ดำ
#ศัตรูพืช
#โรคพืช
#วิจัย
#สวก.