การพัฒนาปลูกพืชเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง
การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บนภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรอยู่บนที่สูงจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอปงเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่าม้งและเผ่าเย้า ส่วนใหญ่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วดำ และลิ้นจี่ เป็นอาชีพหลัก ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนบนพื้นที่สูงแห่งนี้ ทว่าปัญหาสำคัญสำคัญของการทำอาชีพเกษตรกรรมของคนที่อาศัยคนพื้นที่สูงนั้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอย และใช้สารเคมีทางการเกษตรป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้เกิดการเปื้อนปนของสารเคมีและตกค้างในผลผลิต ตลอดจนตกค้างในสิ่งแวดล้อม
จากปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบระยะยาวต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มูลนิธิโครงการหลวงจึงจัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า ในพื้นที่อำเภอปงจังหวัดพะเยาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวมถึงให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเข้าแก้ไขปัญหาเรื่องพื้นที่เสื่อมโทรม พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง ดังนั้นจึงควรหาแนวทางลดการใช้สารเคมีในทางการเกษตร ควบคู่กับการป้องกันและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและน้ำ ด้วยต้นแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม โดยวิธีระบบการปลูกพืช Cropping System ซึ่งเน้นส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่สูงเพาะปลูกดังนี้
– ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ข้าวไร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเก๊กฮวย
– ปลูกพืชเศรษฐกิจรองเช่น พืชตระกูลถั่ว
– ปลูกพืชอื่นร่วมเช่น ตะไคร้ หม่อน อะโวคาโด
– ปลูกพืชอนุรักษ์ เช่น หญ้าแฝก ควบคู่กับวิธีการควบคุมโรค โดยชีวะวิธี Bio Control รวมถึงการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
ซึ่งข้อดีของการใช้วิธีการนี้ คือเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่ใช้มีฤทธิ์ยับยั้งและต้านการเจริญเติบโตเชื้อรา ส่งผลให้ระดับความรุนแรงของการเกิดโรคระบาดทางใบของพืชลดลง เช่น โรคใบไหม้ของข้าวไร่และโรคใบจุดสีน้ำตาล อีกทั้งช่วยลดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรได้
ดังนั้นงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม และมีศักยภาพและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่สูง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นต่อหน่วยพื้นที่การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์จากต่างประเทศ และส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีผู้คุมโรคพืช ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคอีกด้วย
#ผลิตพืชเศรษฐกิจ
#อนุรักษ์ดินและน้ำ
#พะเยา
#วิจัย
#สวก.
การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บนภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรอยู่บนที่สูงจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอปงเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่าม้งและเผ่าเย้า ส่วนใหญ่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วดำ และลิ้นจี่ เป็นอาชีพหลัก ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนบนพื้นที่สูงแห่งนี้ ทว่าปัญหาสำคัญสำคัญของการทำอาชีพเกษตรกรรมของคนที่อาศัยคนพื้นที่สูงนั้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอย และใช้สารเคมีทางการเกษตรป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้เกิดการเปื้อนปนของสารเคมีและตกค้างในผลผลิต ตลอดจนตกค้างในสิ่งแวดล้อม
จากปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบระยะยาวต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มูลนิธิโครงการหลวงจึงจัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า ในพื้นที่อำเภอปงจังหวัดพะเยาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวมถึงให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเข้าแก้ไขปัญหาเรื่องพื้นที่เสื่อมโทรม พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง ดังนั้นจึงควรหาแนวทางลดการใช้สารเคมีในทางการเกษตร ควบคู่กับการป้องกันและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและน้ำ ด้วยต้นแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม โดยวิธีระบบการปลูกพืช Cropping System ซึ่งเน้นส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่สูงเพาะปลูกดังนี้
– ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก ข้าวไร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเก๊กฮวย
– ปลูกพืชเศรษฐกิจรองเช่น พืชตระกูลถั่ว
– ปลูกพืชอื่นร่วมเช่น ตะไคร้ หม่อน อะโวคาโด
– ปลูกพืชอนุรักษ์ เช่น หญ้าแฝก ควบคู่กับวิธีการควบคุมโรค โดยชีวะวิธี Bio Control รวมถึงการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
ซึ่งข้อดีของการใช้วิธีการนี้ คือเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่ใช้มีฤทธิ์ยับยั้งและต้านการเจริญเติบโตเชื้อรา ส่งผลให้ระดับความรุนแรงของการเกิดโรคระบาดทางใบของพืชลดลง เช่น โรคใบไหม้ของข้าวไร่และโรคใบจุดสีน้ำตาล อีกทั้งช่วยลดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรได้
ดังนั้นงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม และมีศักยภาพและลดค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรบนพื้นที่สูง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นต่อหน่วยพื้นที่การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์จากต่างประเทศ และส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีผู้คุมโรคพืช ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคอีกด้วย
#ผลิตพืชเศรษฐกิจ
#อนุรักษ์ดินและน้ำ
#พะเยา
#วิจัย
#สวก.