ปลาตะกรับช่วยลดการอุดตันของกระชัง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังเกษตรกรผู้เลี้ยงมักต้องรับความเสี่ยงจากปัญหาการตายของปลาในกระชัง โดยสาเหตุมักมาจากการขาดออกซิเจน เนื่องจากเศษอาหาร ตะกอน หอย และสาหร่ายที่เกาะรอบกระชัง ขัดขวางการไหลของน้ำ ทำให้ปลาที่เลี้ยงในกระชังตาย
การลดปัญหาดังกล่าวอาจทำได้ โดยการขัดเปลี่ยนกระชัง ซึ่งต้องมีการจัดการและเสี่ยงต่อความบอบช้ำของปลาที่เลี้ยง ส่งผลให้ปลาที่อยู่ในกระชังที่ขัดตาย จะดีไหมหากเลี้ยงปลาในกระชัง โดยไม่ต้องขัดกระชัง เปลี่ยนกระชัง ไม่ต้องเสี่ยงต่อการตายของปลา
การจัดการโดยวิธีทางชีวภาพ อาศัยหลักการทางนิเวศวิทยา การนำปลาตะกรับซึ่งเป็นปลาที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ และกินอาหารทั้งพืชและสัตว์ สามารถช่วยกินเศษอาหาร สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและสาหร่ายที่ติดอยู่ข้างกระชัง ช่วยทำความสะอาดกระชัง ส่งผลให้การไหลเวียนของน้ำในกระชังปลากระพงดีขึ้น
การเลี้ยงปลาตะกรับร่วมกับปลากะพงขาวในกระชัง โดยรูปแบบการเรียงด้วยกระชังสองชั้นที่มีขนาดต่างกัน โดยมีความห่างระหว่างกระชังตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป เช่น กระชังขนาดใหญ่ 4 * 4 * 4 เมตร กับกระชังขนาดเล็ก 3 * 3 * 3 เมตร
กระชังชั้นในปล่อยปลากระพงขาวขนาด 7-9 นิ้ว จำนวน 240 ตัว ร่วมกับปลาตะกรับขนาด 25 ถึง 30 กรัมจำนวน 72 ตัว กระชังชั้นนอกปล่อยปลาตะกรับ 108 ตัว การให้อาหารให้เฉพาะปลากระพงประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว ระยะเวลาการเลี้ยง 14-24 เดือน
ประโยชน์จากการเลี้ยง กระชังที่เลี้ยงสะอาด มีเศษเกาะติดน้อย ง่าย และประหยัดต้นทุนต่อการจัดการ โดยปกติเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงในแบบเดิม กระชังมีน้ำหนักมากต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก หรือบางครั้งยากที่จะกู้กระชังได้ก็ต้องปล่อยทิ้ง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
ผลผลิตที่ได้ถือว่าเป็นการเลี้ยง 1 ได้ 2 ได้ผลผลิตทั้งปลากะพงขาวและปลาตะกรับในเวลาเดียวกัน โดยผลผลิตจากปลาตะกรับที่ได้ประมาณ 10% ของปลากระพงขาว
#ปลาตะกรับ
#ปลากระพงขาว
#การเลี้ยงปลาในกระชัง
#ปลาทะเล
#วิจัย
#สวก
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังเกษตรกรผู้เลี้ยงมักต้องรับความเสี่ยงจากปัญหาการตายของปลาในกระชัง โดยสาเหตุมักมาจากการขาดออกซิเจน เนื่องจากเศษอาหาร ตะกอน หอย และสาหร่ายที่เกาะรอบกระชัง ขัดขวางการไหลของน้ำ ทำให้ปลาที่เลี้ยงในกระชังตาย
การลดปัญหาดังกล่าวอาจทำได้ โดยการขัดเปลี่ยนกระชัง ซึ่งต้องมีการจัดการและเสี่ยงต่อความบอบช้ำของปลาที่เลี้ยง ส่งผลให้ปลาที่อยู่ในกระชังที่ขัดตาย จะดีไหมหากเลี้ยงปลาในกระชัง โดยไม่ต้องขัดกระชัง เปลี่ยนกระชัง ไม่ต้องเสี่ยงต่อการตายของปลา
การจัดการโดยวิธีทางชีวภาพ อาศัยหลักการทางนิเวศวิทยา การนำปลาตะกรับซึ่งเป็นปลาที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ และกินอาหารทั้งพืชและสัตว์ สามารถช่วยกินเศษอาหาร สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและสาหร่ายที่ติดอยู่ข้างกระชัง ช่วยทำความสะอาดกระชัง ส่งผลให้การไหลเวียนของน้ำในกระชังปลากระพงดีขึ้น
การเลี้ยงปลาตะกรับร่วมกับปลากะพงขาวในกระชัง โดยรูปแบบการเรียงด้วยกระชังสองชั้นที่มีขนาดต่างกัน โดยมีความห่างระหว่างกระชังตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป เช่น กระชังขนาดใหญ่ 4 * 4 * 4 เมตร กับกระชังขนาดเล็ก 3 * 3 * 3 เมตร
กระชังชั้นในปล่อยปลากระพงขาวขนาด 7-9 นิ้ว จำนวน 240 ตัว ร่วมกับปลาตะกรับขนาด 25 ถึง 30 กรัมจำนวน 72 ตัว กระชังชั้นนอกปล่อยปลาตะกรับ 108 ตัว การให้อาหารให้เฉพาะปลากระพงประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว ระยะเวลาการเลี้ยง 14-24 เดือน
ประโยชน์จากการเลี้ยง กระชังที่เลี้ยงสะอาด มีเศษเกาะติดน้อย ง่าย และประหยัดต้นทุนต่อการจัดการ โดยปกติเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงในแบบเดิม กระชังมีน้ำหนักมากต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก หรือบางครั้งยากที่จะกู้กระชังได้ก็ต้องปล่อยทิ้ง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
ผลผลิตที่ได้ถือว่าเป็นการเลี้ยง 1 ได้ 2 ได้ผลผลิตทั้งปลากะพงขาวและปลาตะกรับในเวลาเดียวกัน โดยผลผลิตจากปลาตะกรับที่ได้ประมาณ 10% ของปลากระพงขาว
#ปลาตะกรับ
#ปลากระพงขาว
#การเลี้ยงปลาในกระชัง
#ปลาทะเล
#วิจัย
#สวก