วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

การผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาชุมชนพื้นที่สูง | สวก

การผลิตก๊าซชีวภาพของชุมชนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

ที่ผ่านมาการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนใช้เองในครัวเรือนของชุมชนบนพื้นที่สูงของไทย ยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ ในปัจจุบันประชาชนที่อาศัยอยู่บนที่สูง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์เป็นหลัก ทั้งการปลูกพืช ผัก ผลไม้และเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ เป็นต้น จึงทำให้มีเศษวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรจำนวนมาก อีกทั้งยังขาดการจัดการของเสียอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ดังนั้นการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น เช่น เศษอาหาร เศษผัก เพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดปัญหาขยะอินทรีย์และของเสีย อีกทั้งช่วยสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงด้านพลังงานแก่ชุมชนอีกด้วย

เห็นข้อดีแบบนี้จึงเกิดเป็นต้นแบบระบบผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพบนพื้นที่สูง ในบริเวณศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โดยสนับสนุนให้ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โดยใช้มูลสัตว์เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งชุดอุปกรณ์หลักประกอบด้วย บ่อผลิตก๊าซชีวภาพจำนวน 8 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 บ่อ ลักษณะเป็นทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เมตร ชุดอุปกรณ์ร่วมประกอบด้วย เตาก๊าซชีวภาพ หม้อหุงข้าวก๊าซชีวภาพ และหลอดไฟส่องสว่างก๊าซชีวภาพ จำนวน 20 ชุด

ศักยภาพของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เท่ากับ 0.9 ลูกบาศก์เมตร 1 วัน เทียบเท่ากับก๊าซ LPG 0.45 กิโลกรัมต่อวัน และปุ๋ยอินทรีย์จากกากตะกอนแห้งจากระบบประมาณ 150 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งต้นทุนการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ 1 แสนบาทต่อชุด ใช้ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี

หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการคัดเลือกวิธีติดตั้งระบบผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพบนพื้นที่สูงประกอบด้วย
– มีพื้นที่เพียงพอในการติดตั้งระบบ
– มีปริมาณขยะอินทรีย์และของเสียเพียงพอ
– มีความพร้อมด้านแรงงานในการก่อสร้างระบบ
– มีความต้องการใช้พลังงานทดแทน

ซึ่งต้นแบบระบบผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพเพื่อการพัฒนาชุมชนพื้นที่สูงจะได้ประโยชน์จากเกษตรกรในพื้นที่โดยตรงแล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์สำหรับเป็นต้นแบบการเรียนรู้และขยายผลให้กับชุมชนข้างเคียงที่สนใจอีกด้วย

#ก๊าซชีวภาพ
#ขยะอินทรีย์
#งานหมุนเวียน
#แก๊สชีวภาพ
#วิจัย
#สวก