การใช้ปประโยชน์สารจากพริกไทยเพื่อพัฒนาเป็นสารต้านอัลไซเมอร์
การเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มในภาวะสมองเสื่อมเป็นฌรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมากในอันดับต้นๆ ประเทศไทยในปี 2559 มีผู้ป่วยถึง 600,000 คน และประมาณการว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าใน 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีภาวะสมองเสื่อมถึงร้อยละ 11 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปี การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับกับการดูแลหรือลดอัตราการป่วยโรคอัลไซเมอร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษา วิจัยและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีแนวโน้มที่จะพบโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น
ข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีมากกว่าเด็ก ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ในปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาอัลไซเมอร์มีอยู่เพียง 4 ชนิดที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้ใช้ได้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าการใช้สารสกัดสมุนไพรบางชนิดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังไม่มีการศึกษายืนยันชัดเจน อย่างไรก็ตามยาทั้งหมดได้เพียงแต่ชะลอ ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ การรักษาด้วยยาเฉพาะของโรคอัลไซเมอร์ที่ใช้กันอยู่มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงในผู้ป่วยบางราย ราคายาที่ค่อนข้างแพง ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในไทยมีค่าใช้จ่ายกับยาประมาณ 200,000 บาทต่อปี การเข้าถึงยาเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ป่วยรายได้น้อย
จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ทีมผู้วิจัยสนใจนำสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพหลากหลาย และมีปริมาณมากในธรรมชาติ เกษตรกรกลุ่มได้ง่าย ปลอดภัย รับประทานได้ ราคาไม่แพง มาปรับแต่งโครงสร้างของสาร โดยการปรับแต่งด้วยปฏิกิริยาทางเคมี ให้เป็นสารอนุพันธุ์ใหม่ ที่มีฤทธิ์ดีกว่าสารธรรมชาติ และที่สำคัญคือดีเทียบเท่ากับยา งานวิจัยนี้ทีมผู้วิจัยได้นำพริกไทยดำ”ราชาแห่งเครื่องเทศ”ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้ในปริมาณมากในจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย และเคยมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านอัลไซเมอร์มาทำการศึกษา
การวิจัยจะเริ่มจากการสกัดแยกสาร piperine สารปรับแต่งโครงสร้าง 4k เป็นที่คาดหวังและคาดการณ์ว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เป็นสาร active ingredient ในยาหรืออาหารเสริม เพื่อต้านอัลไซเมอร์ บรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ในราคาที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ เนื่องจากการใช้สารธรรมชาติจากพืชสมุนไพรที่ปลูกได้ในประเทศที่มีราคาไม่แพง การผลิตง่าย และมีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่ากับยา
ตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายของสารปรับแสงโครงสร้าง 4k ที่จะนำไปสู่การใช้งานจริงเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนบริษัทยาหรืออาหารเสริมองค์การเภสัช ในการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ลดการเกิดอัลไซเมอร์ สำหรับผู้สูงอายุของสังคมไทย ในราคาที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ นำไปสู่สังคมผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยมีความสุข คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถรับมือกับโรคที่เกิดขึ้นได้
#พริกไทยดำ #โรคอัลไซเมอร์ #ผู้สูงอายุ #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มในภาวะสมองเสื่อมเป็นฌรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมากในอันดับต้นๆ ประเทศไทยในปี 2559 มีผู้ป่วยถึง 600,000 คน และประมาณการว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าใน 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีภาวะสมองเสื่อมถึงร้อยละ 11 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปี การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับกับการดูแลหรือลดอัตราการป่วยโรคอัลไซเมอร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษา วิจัยและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีแนวโน้มที่จะพบโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น
ข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีมากกว่าเด็ก ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ในปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาอัลไซเมอร์มีอยู่เพียง 4 ชนิดที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้ใช้ได้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าการใช้สารสกัดสมุนไพรบางชนิดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังไม่มีการศึกษายืนยันชัดเจน อย่างไรก็ตามยาทั้งหมดได้เพียงแต่ชะลอ ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ การรักษาด้วยยาเฉพาะของโรคอัลไซเมอร์ที่ใช้กันอยู่มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงในผู้ป่วยบางราย ราคายาที่ค่อนข้างแพง ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในไทยมีค่าใช้จ่ายกับยาประมาณ 200,000 บาทต่อปี การเข้าถึงยาเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ป่วยรายได้น้อย
จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ทีมผู้วิจัยสนใจนำสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพหลากหลาย และมีปริมาณมากในธรรมชาติ เกษตรกรกลุ่มได้ง่าย ปลอดภัย รับประทานได้ ราคาไม่แพง มาปรับแต่งโครงสร้างของสาร โดยการปรับแต่งด้วยปฏิกิริยาทางเคมี ให้เป็นสารอนุพันธุ์ใหม่ ที่มีฤทธิ์ดีกว่าสารธรรมชาติ และที่สำคัญคือดีเทียบเท่ากับยา งานวิจัยนี้ทีมผู้วิจัยได้นำพริกไทยดำ”ราชาแห่งเครื่องเทศ”ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้ในปริมาณมากในจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย และเคยมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านอัลไซเมอร์มาทำการศึกษา
การวิจัยจะเริ่มจากการสกัดแยกสาร piperine สารปรับแต่งโครงสร้าง 4k เป็นที่คาดหวังและคาดการณ์ว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เป็นสาร active ingredient ในยาหรืออาหารเสริม เพื่อต้านอัลไซเมอร์ บรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ในราคาที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ เนื่องจากการใช้สารธรรมชาติจากพืชสมุนไพรที่ปลูกได้ในประเทศที่มีราคาไม่แพง การผลิตง่าย และมีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่ากับยา
ตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายของสารปรับแสงโครงสร้าง 4k ที่จะนำไปสู่การใช้งานจริงเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนบริษัทยาหรืออาหารเสริมองค์การเภสัช ในการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ลดการเกิดอัลไซเมอร์ สำหรับผู้สูงอายุของสังคมไทย ในราคาที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ นำไปสู่สังคมผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยมีความสุข คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถรับมือกับโรคที่เกิดขึ้นได้
#พริกไทยดำ #โรคอัลไซเมอร์ #ผู้สูงอายุ #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง