การพัฒนาต้นแบบชุดตรวจแลมป์สำเร็จรูป
แนวคิดของงานวิจัยนี้คือ ต้องการลดเวลาในการตรวจเชื้อก่อโรคในอาหาร เพื่ออุตสาหกรรมการส่งออกอาหาร เดิมวิธีการตรวจเชื้อในอาหารจะต้องใช้เวลาในการตรวจยาวนานข้ามคืนหรือประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง เช่น อุตสาหกรรมการแช่แข็งกุ้ง เมื่อกุ้งมาส่งที่หน้าโรงงานตอนเช้าประมาณ 6:00 น. กว่าจะทราบว่ามีเชื้อก่อโรคในอาหารจะต้องใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง
ดังนั้นจึงคิดว่าวิธีใดก็ตามที่จะสามารถลดเวลาให้น้อยลงจนสามารถที่จะรู้ผลได้ภายใน 1 วัน ตรวจตอนเช้า ทราบผลตอนเย็น ว่าปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรมอาหารที่ส่งไปต่างประเทศปลอดเชื้อจริง และทันเวลา
ในงานวิจัยเรื่องนี้จะมีเรื่องของอณูชีววิทยามาเกี่ยวข้อง การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อที่ต้องการตรวจ จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างจำเพาะว่าติดเชื้ออะไร วิธีอณูชีววิทยา คือวิธีที่จะตรวจสารพันธุกรรมซึ่งใช้เทคนิค lamp ในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรียที่ต้องการตรวจ โดย 1 ตัว สามารถเพิ่มปริมาณเชื้อที่ต้องการตรวจได้ถึง 1,000 ล้านเท่า ในระยะเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนั้นจะสามารถตรวจได้ว่ามี DNA ของเชื้อเหล่านั้นบนเปื้อนอยู่ในอาหารของเราหรือไม่
จากการเปลี่ยนจากเทคนิค pcr มาเป็นเทคนิค lamp ทำให้ลดเวลาในการตรวจ ลดค่าใช้จ่าย ลดราคาของเครื่องมือ ซึ่งจะใช้งบประมาณเพียง 5,000-10,000 บาท เท่านั้น
จากเดิมที่จะต้องใช้เวลาการเลี้ยงเชื้อไม่ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง จนลดระยะเวลาที่ใช้เพียง 4 ชั่วโมง เมื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมเสร็จแล้ว จะต้องมาตรวจสารปริมาณพันธุกรรมนั้นจริงหรือไม่ ก็จะใช้เทคนิคเคมีไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการตรวจผลการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ รวมไปถึงพัฒนาเซ็นเซอร์ที่จะสามารถตรวจผลิตผล Lamp ที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้เซ็นเซอร์กราฟีล์มซึ่งมีความสามารถในการนำไฟฟ้า
#ชุดตรวจแลมป์สำเร็จรูป #Vibriochorellae #Ecoli #Vparahaemolyticus #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
แนวคิดของงานวิจัยนี้คือ ต้องการลดเวลาในการตรวจเชื้อก่อโรคในอาหาร เพื่ออุตสาหกรรมการส่งออกอาหาร เดิมวิธีการตรวจเชื้อในอาหารจะต้องใช้เวลาในการตรวจยาวนานข้ามคืนหรือประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง เช่น อุตสาหกรรมการแช่แข็งกุ้ง เมื่อกุ้งมาส่งที่หน้าโรงงานตอนเช้าประมาณ 6:00 น. กว่าจะทราบว่ามีเชื้อก่อโรคในอาหารจะต้องใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง
ดังนั้นจึงคิดว่าวิธีใดก็ตามที่จะสามารถลดเวลาให้น้อยลงจนสามารถที่จะรู้ผลได้ภายใน 1 วัน ตรวจตอนเช้า ทราบผลตอนเย็น ว่าปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรมอาหารที่ส่งไปต่างประเทศปลอดเชื้อจริง และทันเวลา
ในงานวิจัยเรื่องนี้จะมีเรื่องของอณูชีววิทยามาเกี่ยวข้อง การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อที่ต้องการตรวจ จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างจำเพาะว่าติดเชื้ออะไร วิธีอณูชีววิทยา คือวิธีที่จะตรวจสารพันธุกรรมซึ่งใช้เทคนิค lamp ในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรียที่ต้องการตรวจ โดย 1 ตัว สามารถเพิ่มปริมาณเชื้อที่ต้องการตรวจได้ถึง 1,000 ล้านเท่า ในระยะเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนั้นจะสามารถตรวจได้ว่ามี DNA ของเชื้อเหล่านั้นบนเปื้อนอยู่ในอาหารของเราหรือไม่
จากการเปลี่ยนจากเทคนิค pcr มาเป็นเทคนิค lamp ทำให้ลดเวลาในการตรวจ ลดค่าใช้จ่าย ลดราคาของเครื่องมือ ซึ่งจะใช้งบประมาณเพียง 5,000-10,000 บาท เท่านั้น
จากเดิมที่จะต้องใช้เวลาการเลี้ยงเชื้อไม่ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง จนลดระยะเวลาที่ใช้เพียง 4 ชั่วโมง เมื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมเสร็จแล้ว จะต้องมาตรวจสารปริมาณพันธุกรรมนั้นจริงหรือไม่ ก็จะใช้เทคนิคเคมีไฟฟ้าเข้ามาช่วยในการตรวจผลการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ รวมไปถึงพัฒนาเซ็นเซอร์ที่จะสามารถตรวจผลิตผล Lamp ที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้เซ็นเซอร์กราฟีล์มซึ่งมีความสามารถในการนำไฟฟ้า
#ชุดตรวจแลมป์สำเร็จรูป #Vibriochorellae #Ecoli #Vparahaemolyticus #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง