การเลือกดูดซับชาพอลิฟีนอลและคาเฟอีนบนนาโนคอมพอสิตของยางธรรมชาติ/เฮกชะโกนอลมิโซพอรัสซิลิกาดัดแปรด้วยเอมีนสำหรับการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ชาเป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยมบริโภคกันมากที่สุด รองลงมาจากน้ำเปล่า และยังมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย เครื่องดื่มประเภทชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่คนไทยนั้นบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ จึงส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดของชาและเครื่องดื่มคาเฟอีนมีมูลค่าสูงมาก อีกทั้งชายังเป็นเครื่องดื่มที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยชานั้นมีสาร anti oxidant ที่ชื่อว่า catechin ซึ่งสารชนิดนี้สามารถป้องกันการเสื่อมสลายและการทำลายโครงสร้างของเซลล์ได้ ที่สำคัญอีกอย่างคือสามารถชะลอความแก่ได้อีกด้วย แต่ภายในชานั้นมีสารที่ชื่อว่าคาเฟอีนซึ่งการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตสูง อีกทั้งคาเฟอีนยังส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารอีกด้วย การบริโภคคาเฟอีนติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถนำไปสู่สภาวะเสพติดคาเฟอีนได้ นั่นจึงเป็นที่มาของความคิดที่จะลดปริมาณของคาเฟอีนในเครื่องดื่ม โดยการพัฒนาตัวดูดซับคาเฟอีนในสารละลายขึ้นมา
โครงการนี้ทางทีมวิจัยได้เลือกเทคโนโลยีดูดซับสำหรับศึกษาผลของการแยกชาพอลิฟีนอลและคาเฟอีนในสารละลายน้ำชา โดยทีมวิจัยได้พัฒนาตัวดูดซับนาโนคอมพอสิตของยางธรรมชาติกับเฮกชะโกนอลมิโซพอรัสซิลิกาที่มีความคงตัวสูง มีสมบัติไม่ชอบน้ำและดักจับสารอินทรีย์ในสารละลายได้ดี ทำการพัฒนาตัวดูดซับไดยการดัดแปรพื้นผิวด้วยด้วยเอมีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาขึ้นตัวดูดซับนาโนคอมพอสิตที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถดักจับคาเฟอีนจากสารละลายน้ำชาได้สูงถึง 80-95 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้สูงสุดถึง 5 ครั้ง โดยการนำไปชะด้วยสารละลายอเนกประสงค์ ระหว่างน้ำกับเอทานอล
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยต่อกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตัวดูดซับนาโนคอมโพสิตของยางธรรมชาติ เฮกชะโกนอลมิโซพอรัสซิลิกาดัดแปรด้วยเอมีนมีประสิทธิภาพสูงในการดักจับในการดักจับคาเฟอีนในเครื่องดื่ม และสามารถใช้ซ้ำได้
เกิดการยอมรับเทคโนโลยีการดูดซับเพื่อลดต้นทุนในกระบวนการอุตสาหกรรมสำหรับแยกสารสำคัญในน้ำชาและกำจัดคาเฟอีนในสารละลาย
ส่งเสริมให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนำเทคโนโลยีการดูดซับไปใช้ในการออกแบบเครื่องดื่มคาเฟอีนต่ำเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค
เพิ่มแนวทางในการลดคาเฟอีนในเครื่องดื่มเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
#ชา #คาแฟอีน #เทคโนโลยีดูดซับ #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ชาเป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยมบริโภคกันมากที่สุด รองลงมาจากน้ำเปล่า และยังมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย เครื่องดื่มประเภทชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่คนไทยนั้นบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ จึงส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดของชาและเครื่องดื่มคาเฟอีนมีมูลค่าสูงมาก อีกทั้งชายังเป็นเครื่องดื่มที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยชานั้นมีสาร anti oxidant ที่ชื่อว่า catechin ซึ่งสารชนิดนี้สามารถป้องกันการเสื่อมสลายและการทำลายโครงสร้างของเซลล์ได้ ที่สำคัญอีกอย่างคือสามารถชะลอความแก่ได้อีกด้วย แต่ภายในชานั้นมีสารที่ชื่อว่าคาเฟอีนซึ่งการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตสูง อีกทั้งคาเฟอีนยังส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารอีกด้วย การบริโภคคาเฟอีนติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถนำไปสู่สภาวะเสพติดคาเฟอีนได้ นั่นจึงเป็นที่มาของความคิดที่จะลดปริมาณของคาเฟอีนในเครื่องดื่ม โดยการพัฒนาตัวดูดซับคาเฟอีนในสารละลายขึ้นมา
โครงการนี้ทางทีมวิจัยได้เลือกเทคโนโลยีดูดซับสำหรับศึกษาผลของการแยกชาพอลิฟีนอลและคาเฟอีนในสารละลายน้ำชา โดยทีมวิจัยได้พัฒนาตัวดูดซับนาโนคอมพอสิตของยางธรรมชาติกับเฮกชะโกนอลมิโซพอรัสซิลิกาที่มีความคงตัวสูง มีสมบัติไม่ชอบน้ำและดักจับสารอินทรีย์ในสารละลายได้ดี ทำการพัฒนาตัวดูดซับไดยการดัดแปรพื้นผิวด้วยด้วยเอมีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาขึ้นตัวดูดซับนาโนคอมพอสิตที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถดักจับคาเฟอีนจากสารละลายน้ำชาได้สูงถึง 80-95 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้สูงสุดถึง 5 ครั้ง โดยการนำไปชะด้วยสารละลายอเนกประสงค์ ระหว่างน้ำกับเอทานอล
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยต่อกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตัวดูดซับนาโนคอมโพสิตของยางธรรมชาติ เฮกชะโกนอลมิโซพอรัสซิลิกาดัดแปรด้วยเอมีนมีประสิทธิภาพสูงในการดักจับในการดักจับคาเฟอีนในเครื่องดื่ม และสามารถใช้ซ้ำได้
เกิดการยอมรับเทคโนโลยีการดูดซับเพื่อลดต้นทุนในกระบวนการอุตสาหกรรมสำหรับแยกสารสำคัญในน้ำชาและกำจัดคาเฟอีนในสารละลาย
ส่งเสริมให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนำเทคโนโลยีการดูดซับไปใช้ในการออกแบบเครื่องดื่มคาเฟอีนต่ำเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค
เพิ่มแนวทางในการลดคาเฟอีนในเครื่องดื่มเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
#ชา #คาแฟอีน #เทคโนโลยีดูดซับ #งานวิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง