วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

แผ่นแปะแก้ปวด จากสารสกัดไพล และสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก | สวก.

แผ่นแปะแก้ปวด จากสารสกัดไพล และสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก | สวก.

ปัจจุบันมีการนำเอาสมุนไพรมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายรวมถึงการรักษาโรคด้วย สำหรับในประเทศไทย นำไพลมาใช้บรรเทาอาการปวด เคล็ดขัดยอก โดยมีตำรับยาเฉพาะ ที่มีการเตรียมน้ำมันไทยในรูปแบบของครีมทา ซึ่งปริมาณตัวยาสำคัญในครีม จะส่งผลต่อคุณภาพในการรักษาด้วย นั่นก็คือถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะเกิดการระคายเคือง แต่ถ้าน้อยเกินไปก็จะทำให้การรักษามีคุณภาพที่ต่ำลง ผู้ที่มีปัญหาปวดเมื่อยมักจะนิยมใช้แผ่นแปะบรรเทาปวดกันมาก เนื่องจากสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้ครีมทา แต่บางคนอาจจะเกิดผดผื่นคันขึ้น เพราะว่าแผ่นฟิล์มจากสารสังเคราะห์ ทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะแก้ปวดที่นำเข้าจากต่างประเทศแทน

ดังนั้น โครงการแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพลและสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก จึงเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภค โดยตัวแผ่นแปะผลิตมาจากสารเมือกของเมล็ดแมงลักและสารสกัดไพลที่เป็นสมุนไพรของไทย ใช้วิธีการสกัดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนในการผลิตยา และสามารถควบคุมตัวยาในสารสกัดไพลได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย ในโครงการพัฒนาสำหรับแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดไพลและสารเมือกจากเมล็ดแมงลัก มีที่มาเพื่อพัฒนาตำรับที่มีอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเป็นตำรับยาจากน้ำมันหอมระเหยจากไพล โดยใช้สารสกัดจากไพลในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันหอมระเหย เพื่อที่จะลดปริมาณสารที่จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ในงานวิจัยพบว่าสารที่ออกฤทธิ์ในการรักษาอาการปวดอักเสบไพลนี้ ออกฤทธิ์ในการรักษาการอักเสบกล้ามเนื้อ ซึ่งสารตัวนี้สามารถที่จะสกัดออกมาด้วยตัวทำละลายได้มากกว่าในน้ำมันหอมระเหย นอกจากนี้ยังพบว่าจะได้สารอนุพันธ์อื่นๆ ออกมาด้วย ซึ่งจะเสริมฤทธิ์ในการรักษาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ ซึ่งก็จะเป็นข้อดีมากกว่าในการใช้น้ำมันหอมระเหย

เมื่อเราสามารถที่จะพัฒนาออกมาเป็นแผ่นแปะได้ จะทำให้เราสามารถที่จะเพิ่มความคงตัวของสารได้ เพราะว่าเมื่อสารกลุ่มนี้อยู่ในรูปแบบครีมจะมีปริมาณน้ำสูง เพราะฉะนั้นการที่อยู่ในรูปของแผ่นแปะนั้น ปริมาณน้ำจะน้อย ทำให้ตัวยาสำคัญมีความคงตัวมากขึ้น นอกจากจะแก้ปวดเมื่อยได้แล้วยังมีคุณสมบัติในการบำรุงผิว ต้านอนุมูลอิสระ อาการแพ้ อาการคัน ต่างจากแผ่นแปะทั่วไปที่เวลาเราออกเนี่ยจะทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น

และล่าสุดผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเวทีการประกวดในงานนิทรรศการนานาชาติด้านสิ่งประดิษฐ์ครั้งที่ 45 กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส นับว่าเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ผลงานวิจัยไทยสามารถไปสู่ระดับโลกได้

หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์

ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

#แผ่นแปะแก้ปวด #ไพล #เมล็ดแมงลัก #สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
#arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017