วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

การเสวนาในหัวข้อ “สวก. กับการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อเตรียมการสู้ภัยแล้ง และกรอบวิจัยเร่งด่วน”

สวก. กับการบริหารจัดการงานวิจัยเตรียมการสู้ภัยแล้ง และกรอบวิจัยเร่งด่วน
เชิญชมการเสวนาเรื่อง “สวก. กับการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อเตรียมการสู้ภัยแล้ง และกรอบวิจัยเร่งด่วน”
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประสบกับปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางออกที่ดีสำหรับปัญหานี้คืออะไร และ สวก. จะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรในเรื่องนี้ ติดตามชมได้ในรายการ ARDA Talk.

ผู้ร่วมเสวนา
– ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
– นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรของ สวก.
– นายไพฑูรย์ นาคแท้ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย
– ดร.ฉัตร พยุงวิวัฒนกูล อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม เกิดขึ้นหลายพื้นที่ เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จะมีวิธีการบริหารจัดการภัยแล้งอย่างไร

ภาพรวมในปี 2562 จากดัชนีฝนแล้งมีฝนเฉลี่ยน้อยกว่าปกติทำให้น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีน้อย กรมชลประทานมีการวางแผนระบายน้ำได้ตามแผนมีประสิทธิภาพตามแผน สามารถผ่านวิกฤตภัยแล้งในปี 2562 มาได้จะเห็นว่ากรมชลประทานได้ดำเนินการตามแผนป้องกันภัยแล้ง โดยกรมชลประทานได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก สวก. สร้างซอฟต์แวร์ระบบการบริหารจัดการน้ำ ทำให้การบริหารจัดการน้ำในปี 2562 ที่ผ่านมา มีประสิทธิภาพที่ดีมาก โดยในปี 2563 ปริมาณน้ำในเขื่อนทั้ง 35 แห่งของกรมชลประทานยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่ในฤดูฝนของปี 2563 จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะทำให้มีปริมาณฝนมากขึ้น มีค่าฝนสูงกว่าปี 2562 แต่ก็ยังต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงต้องมีการวางแผนการจัดการน้ำด้วยระบบการบริหารจัดการน้ำ ทำให้บริหารจัดการน้ำในปี 2563 ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สวก. มีวิธีการบริหารจัดการภัยแล้งอย่างไร

สวก. เป็นหน่วยสนับสนุนในการลงทุนการวิจัยพัฒนา โดยให้ทุนการวิจัยหลายโครงการที่เกี่ยวกับภัยแล้ง เช่น สนับสนุนการวิจัยเพื่อการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการต้นแบบการพัฒนาสารฝนหลวงทางเลือกเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง การพัฒนาแบบจำลองและโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อการบริหารการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นจากทางน้ำโบราณ การเติมน้ำใต้ดินผ่านสระน้ำกรณีดินเหนียวชั้นบนไม่หนา โดยผลงานวิจัยทั้งหมดนี้เป็นผลงานที่สำเร็จและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ และเป็นข้อมูลวิจัยเชิงนโยบายที่จะนำไปใช้ต่อไป ส่วนกรอบวิจัยใหม่ที่จะเร่งรัดในปี 2564 มี 4 กรอบดังนี้
1. การวิจัยและพัฒนาเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ ที่มีศักยภาพทนแล้งและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ
2. การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตร
3. การพัฒนาการระบบพยากรณ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบสภาพภูมิอากาศ
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำแล้งในภาคการเกษตร

งานวิจัยโครงการ การพัฒนาระบบการรายงานและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งน้ำต้นทุนระดับหมู่บ้าน เพื่อบริหารจัดการภัยแล้ง ผ่านโปรแกรมบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถช่วยชาวบ้านได้อย่างไรบ้าง

Water Smart เป็นระบบที่รายงานภัยแล้ง รวมไปถึงขนาดแหล่งน้ำในชุมชนต่างๆ รูปภาพต่างๆที่ต้องการนำไปใช้เพื่อการวิเคราะห์ภัยแล้ง เพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยให้คนในพื้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้ามาในแอพพลิเคชั่นโดยตรง มีการฝึกอบรมการใช้ระบบเพื่อรายงาน ระบบนี้ผู้ที่สามารถส่งข้อมูลจะเป็นบุคคลเฉพาะกลุ่มที่ได้ร่วมกันอบรม จะไม่เป็นข้อมูลเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อการมองภาพรวมในระดับตำบลอำเภอ

ผลตอบรับของโครงการ การพัฒนาระบบการรายงานและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งน้ำต้นทุนระดับหมู่บ้าน เพื่อบริหารจัดการภัยแล้ง ผ่านโปรแกรมบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นอย่างไรบ้าง
เป้าหมายของโครงการคือต้องการอบรมให้ได้มากกว่า 9,000 ซึ่งตอนนี้อบรมผู้ที่จะใช้งานโปรแกรมได้เพียงครึ่งหนึ่งของเป้าหมาย โดยในหมู่บ้านจะมี 1 คนที่เป็นคนคอยรายงานสถาณการณ์ พร้อมอัปเดตข้อมูลต่างๆ สามารถแก้ไขข้อมูลได้ เพื่อให้เป็นข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด โดยในระบบจะจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญต่างๆเพื่อนำไปประเมินสภาวะภัยแล้ง รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้อัปเดต ทางกรมจะสามารถติดต่อกับผู้ให้ข้อมูลได้โดยตรง ซึ่งตอนนี้ยังเปิดข้อมูลให้ใช้ได้ในขั้นกรม และต่อไปจะสามารถขยายข้อมูลให้เข้าถึงได้ทุกคน


#ภัยแล้ง #WaterSmart #น้ำ #covid19 #โควิด19 #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง #สวกติดปีกเกษตรไทย #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017