วันอังคาร, 30 เมษายน 2567

การเสวนาในหัวข้อ “ชุมชนฅน ป่า เหมี้ยง” | สวก.

หมู่บ้านเด่น หมู่บ้านดังสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงใหม่ ไม่มีใครไม่รู้จักแน่นอน ที่นั่นก็คือแม่กำปอง ซึ่งที่แม่กำปองแห่งนี้ไม่ได้มีดีแค่สถานที่ท่องเที่ยวแน่นอนค่ะ แต่ว่าจะมีอะไรดีๆอีก ต้องติดตามในรายการ ARDA Talk

ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานวิจัย
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ผศ.ดร.ชาติชาย โขนงนุช
ผอ.ศูนย์วิจัยพหุวิทยาการเกี่ยวกับเหมี้ยง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม
ผู้ช่วยคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนความหลากหลายทางชีวภาพ (B.BES-CMU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากการสำรวจข้อมูลประชากรในชุมชนพบว่าผู้คนในชุมชนมีอัตราการป่วยที่ต่ำ มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง พบว่าชุมชนนี้ได้มีการรับประทานเหมี้ยง ซึ่งเมี่ยงเป็นชาป่าสายพันธุ์อัสสัม โดยเหมี้ยงเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวล้านนา ที่นิยมรับประทานกันเป็นทั้งอาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่จะรับประทานเป็นอาหารว่าง อาหารทานเล่น และรับแขก สิ่งที่น่าสนใจคือทำให้มีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้คนที่ทาน ดูแล้วอ่อนวัยอ่อนกว่าอายุ จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ยังมีข้อจำกัดที่เกี่ยวกับรูปลักษณ์ หรือบรรจุภัณฑ์ยังไม่มีความทันสมัย

สวก. จึงได้เห็นความสำคัญในการที่จะสนับสนุนในเชิงบูรณาการและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยได้มีการร่วมทำวิจัยกับนักวิจัยมากถึง 30 ท่าน และ 3 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นการทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต้นน้ำ คือ การจัดการวัตถุดิบและพัฒนาองค์ความรู้ความเข้มแข็งให้กับชุมชน กลางน้ำ คือ มีการศึกษาเกี่ยวกับเภสัชวิทยารวมไปถึงมาตรฐานการวิเคราะห์ ปลายน้ำ จะศึกษาในเรื่องของการแปรรูปการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความต้องการของตลาด ซึ่งจะเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์มาตรฐานให้กับเหมี้ยงและสร้างวัฒนธรรมเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องคนป่าหเมี่ยงอย่างเป็นรูปประธรรม

แผนงานวิจัยบูรณาการงานวิจัยเหมี้ยงเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจมีวัตถุประสงค์อย่างไร
อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา คือการเปลี่ยนใบชาอัสสัมให้กลายเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนมาช้านาน แล้วทำให้คนล้านนาได้ประโยชน์ต่อชุมชน รวมไปถึงทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากเหมี้ยงจะสามารถขายได้แล้วยังเป็นสินค้าที่ทำให้ผู้คนมาพบปะกัน โดยใช้เหมี้ยงเป็นของทานเล่นสำหรับรับแขก รวมไปถึงการใช้ใบสดของเมี่ยงสามารถแปรรูปทำเป็นอาหาร รวมถึงใช้ทำยาอีกด้วย และที่สำคัญคือการใช้เหมี้ยงในการรักษาป่าหมายความว่าที่ไหนมีเหมี้ยงที่นั่นจะมีป่า

แผนงานการวิจัยเมี่ยง ตอบโจทย์ในเรื่องของการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมไปถึงการมีประโยชน์ในทางสุขภาพมีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงแนวทางที่จะใช้ลดเบาหวานได้ เหมี้ยงจึงตอบโจทย์ในทุกมิติของชุมชน

ศูนย์วิจัยพหุวิทยาการเกี่ยวกับเหมี้ยงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีจุดประสงค์อะไรบ้าง

มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลความรู้งานวิจัยเกี่ยวกับเมี่ยง เพื่อเก็บความรู้ไว้และส่งมอบให้กับชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคเหนือเอาไว้ให้กับลูกหลานของเรา รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเหมี้ยงซึ่งเหมี้ยงมีประโยชน์เป็นมาก เพื่อเป็นการเผยแพร่และสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน เนื่องจากเหมี้ยงมีคุณภาพประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล

กระบวนการผลิตเหมี้ยงแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา
เก็บเมี่ยงใบสดแนะนำมาทำความสะอาดจากนั้นนำไปนึ่ง และผึ่งให้เย็น เมื่อผึ่งให้เย็นแล้ว นำมาผ่านกระบวนการหมักโดยใช้เวลาหมัก 14 วัน- 4 เดือนก็จะได้เหมี้ยงออกมา สามารถทานกับเกลือได้เลย

เหมี้ยง หมายความว่าเป็นเหมี้ยงที่หมักมาแล้ว ส่วนชาอัสสัมที่ยังเป็นใบสดจะใช้คำว่าเมี่ยง โดย คำว่าเหมี้ยงที่มี ห. ได้คำมาจากในศิลาจารึก ซึ่งหมายความว่าชาเหมี้ยงที่ผ่านกระบวนการหมักมาแล้ว


#แม่กำปอง #ป่า ​​ #เมี่ยง #เหมี้ยง #covid19​​​ #โควิด19​​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017