วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

ขี้ผง การประยุกต์ใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อพัฒนาเป็นระบบตัวกรองชีวภาพ | สวก.

ขี้ผง การประยุกต์ใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อพัฒนาเป็นระบบตัวกรองชีวภาพ | สวก.

ปัญหามลพิษหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ของประเทศไทย ส่งผลกระทบหลายส่วน ซึ่งหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน คือ การฉีดพ่นน้ำ เพื่อชะล้างฝุ่น แต่กลับให้ประสิทธิภาพการบำบัดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ต่ำมาก

นักวิจัยจึงเกิดไอเดียประยุกต์ใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มาบำบัดฝุ่นละอองในอากาศ การประยุกต์ใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อพัฒนาเป็นระบบตัวกรองชีวภาพ เริ่มจาก
เตรียมวัสดุกรอง อย่างน้อย 10 ชนิด ตัดและทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน
ปั่นให้ละเอียดด้วย Retsch ultra centrifugal mill ที่ 14,000 rpm
นำไปปั่นให้ละเอียดแล้วทำให้แห้งอีกครั้ง ทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน อีกครั้ง
จากนั้น เก็บตัวอย่างจุลินทรีย์จากอากาศ เก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ ด้วยวิธี Passive air sampling และ Active air sampling
เตรียมคอลัมน์ระบบตัวกรองชีวภาพ เตรียมคอลัมน์ระบบตัวกรองชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และจุลินทรีย์ จะได้ ต้นแบบระบบบำบัดฝุ่นละอองมลพิษ โดยระบบตัวกรองชีวภาพนี้ จะมีค่าปริมาณฝุ่นละอองก่อนและหลังแสดงที่หน้าจอ

ทำการเลือกต้นไม้ ศึกษาว่าต้นอะไรที่มีประสิทธิภาพสูงในการฟอกอากาศ ศึกษาเรื่องของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ดีที่สุด นำวัสดุที่ไม่ว่าจะเป็นชานอ้อย ซังข้าวโพด มะพร้าว นำมาปรับใช้ รวมไปถึงความเร็วลม เพราะถ้าความเร็วลมเร็วเกินไปต้นไม้ก็จะจับฝุ่นไม่ทัน แต่ถ้าช้าเกินไปมันก็จะได้ไม่มาก ซึ่งเมื่อ ทำการศึกษาเป็นอย่างดีแล้วก็นำมาสู่การพัฒนาเป็นนวัตกรรม

#ขี้ผง #ระบบตัวกรองชีวภาพ #ต้นไม้ #วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​​ #arda​​ #วิจัยและพัฒนา​​ #สวก​​.​​​​

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017