ปูม้า แปดขาฝ่าวิกฤต แนวทางจัดการทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืน | สวก.
ปัญหาสำคัญในการทำประมงปูม้าของประเทศไทย เกิดจากการจับปูม้าในปริมาณมากเกินกว่ากำลังการผลิตของธรรมชาติ (Overfishing) ประกอบกับปูที่จับได้นั้น เป็นปูไข่นอกกระดอง และปูม้าขนาดเล็กที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์
ประเทศไทยเคยได้รับการประเมินสภาวะทรัพยากรปูม้าจาก “FIP” ให้อยู่ในระดับ C ทำให้เกิดความกังวลว่า ในอนาคตปูม้าอาจเกิดใหม่และเติบโตไม่ทันความต้องการของผู้บริโภค
นักวิจัย สกว. และหน่วยงานหลายฝ่าย ร่วมกันหาแนวทางจัดการทรัพยากรปูม้า ให้สอดคล้องกับแนวทางสากล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการวางแผนการจับปูม้า โดยไม่จับปูม้าขนาดเล็ก ปูไข่นอกกระดอง รวมถึง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศให้แก่ชุมชนประมงด้วย
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยกันวางแผนการจับปูม้า และการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า โดยการนาปูม้าไข่นอกกระดอง มาเพาะฟักในกระชัง หรือในถังน้ำภายในโรงเรือนบริเวณชายฝั่ง เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกจากหน้าท้องแล้ว แม่ปูก็เอาไปขายได้ ไข่ที่ถูกเขี่ยออกมา ก็จะฟักเป็นตัวอ่อน แล้วนำไปปล่อยคืนธรรมชาติ ให้โตเป็นปูม้าตัวใหญ่ต่อไป
ตอนนี้ปูม้าชุกชุมดีมาก มีปูมาก เราก็มีกินตามไปด้วย วิธีนี้สามารถเพิ่มจำนวนปูม้าให้แก่ท้องทะเล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อให้เกิดการประมงปูม้าอย่างยั่งยืน ทำให้ “FIP” ประเมินประเทศไทยในทิศทางที่ดีขึ้นจากระดับ C เป็นระดับ A
#ปูม้า #ประมง #แปดขาฝ่าวิกฤต
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ปัญหาสำคัญในการทำประมงปูม้าของประเทศไทย เกิดจากการจับปูม้าในปริมาณมากเกินกว่ากำลังการผลิตของธรรมชาติ (Overfishing) ประกอบกับปูที่จับได้นั้น เป็นปูไข่นอกกระดอง และปูม้าขนาดเล็กที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์
ประเทศไทยเคยได้รับการประเมินสภาวะทรัพยากรปูม้าจาก “FIP” ให้อยู่ในระดับ C ทำให้เกิดความกังวลว่า ในอนาคตปูม้าอาจเกิดใหม่และเติบโตไม่ทันความต้องการของผู้บริโภค
นักวิจัย สกว. และหน่วยงานหลายฝ่าย ร่วมกันหาแนวทางจัดการทรัพยากรปูม้า ให้สอดคล้องกับแนวทางสากล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการวางแผนการจับปูม้า โดยไม่จับปูม้าขนาดเล็ก ปูไข่นอกกระดอง รวมถึง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศให้แก่ชุมชนประมงด้วย
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยกันวางแผนการจับปูม้า และการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า โดยการนาปูม้าไข่นอกกระดอง มาเพาะฟักในกระชัง หรือในถังน้ำภายในโรงเรือนบริเวณชายฝั่ง เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกจากหน้าท้องแล้ว แม่ปูก็เอาไปขายได้ ไข่ที่ถูกเขี่ยออกมา ก็จะฟักเป็นตัวอ่อน แล้วนำไปปล่อยคืนธรรมชาติ ให้โตเป็นปูม้าตัวใหญ่ต่อไป
ตอนนี้ปูม้าชุกชุมดีมาก มีปูมาก เราก็มีกินตามไปด้วย วิธีนี้สามารถเพิ่มจำนวนปูม้าให้แก่ท้องทะเล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อให้เกิดการประมงปูม้าอย่างยั่งยืน ทำให้ “FIP” ประเมินประเทศไทยในทิศทางที่ดีขึ้นจากระดับ C เป็นระดับ A
#ปูม้า #ประมง #แปดขาฝ่าวิกฤต
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017