การพัฒนาสายพันธุ์ มะเขือเทศอินทรีย์ | สวก.
ปัจจุบันศักยภาพการขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในตลาดโลกยังคงเติบโตไม่หยุด และเจ้ามะเขือเทศอินทรีย์ทั้งผลสดหรือนำไปแปรรูป ยังเป็นที่ต้องการสูงมาก แต่พบปัญหาการปลูกที่ไม่ตอบสนองต่อการจัดการแบบอินทรีย์
จึงเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ ให้มีความสมบูรณ์แบบ ภายใต้ระบบอินทรีย์แบบแปลงเปิด แม้เกษตรกรจะเข้าใจรูปแบบการทำเกษตรอินทรีย์แล้ว แต่การปลูกมะเขือเทศอินทรีย์นั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้เมล็ดพันธุ์ผักการค้าเป็นหลัก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ภายใต้ระบบเคมีมาโดยตลอด ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นเมื่อนำมาผลิตภายใต้ระบบอินทรีย์ จึงเกิดปัญหาความอ่อนแอ โรคแมลงรุมเร้า ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์หรือการจัดการแบบอินทรีย์ จึงจำเป็น ต้องพัฒนาสายพันธุ์มะเขือเทศ ด้วยเทคนิคการรวมยีน การผสมข้ามพันธุ์ เพื่อเพิ่มยีนต้านทานโรค หรือเพิ่มลักษณะที่ต้องการ จากนั้นปลูกทดสอบในรูปแบบต่างๆ จนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว มีการวิเคราะห์ คัดเลือกพันธุ์สำหรับการบริโภคสด หรือนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
หลังจากได้เมล็ดมะเขือเทศพันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสมแล้ว ทดลองปลูกทั้งโรงเรือนและแปลงเปิด ภายใต้ระบบอินทรีย์ พบว่า ต้นมะเขือเทศ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมดี ทนโรคแมลง การเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง ผลสวย ลูกโตได้ขนาด มีสารสำคัญในมะเขือเทศตามที่ควรจะเป็น ลักษณะที่ได้ของมะเขือเทศทานสดผลใหญ่ คือ มีผลกลม สีแดงสด หรือส้มสด เนื้อหนา ผิวมันวาว เมล็ดน้อย น้ำหนักผลระหว่าง 250-400 กรัม/ผล ลักษณะที่ได้ของมะเขือเทศรับประทานสดผลเล็ก คือ ผลกลมรี หรือหยดน้ำ สีแดง ส้ม เหลือง น้ำตาล จำนวนผลไม่น้อยกว่า 8 ผล/ช่อ ขนาดผลระหว่าง 10-50 กรัม/ผล มะเขือเทศสีดา มีผลกลมหรือรี ผิวสีแดงอมชมพู เนื้อหนา รสชาติเปรี้ยวอมหวาน
มะเขือเทศอินทรีย์ เป็นอีกตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมมาพัฒนาสายพันธุ์ ตอบโจทย์โลกที่เปลี่ยนไป ใครที่ไม่ชอบทานมะเขือเทศอาจเปลี่ยนใจ หากได้ลองชิมมะเขือเทศอินทรีย์นี้
#เกษตรอินทรีย์ #มะเขือเทศอินทรีย์ #พัฒนาสายพันธุ์
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
ปัจจุบันศักยภาพการขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในตลาดโลกยังคงเติบโตไม่หยุด และเจ้ามะเขือเทศอินทรีย์ทั้งผลสดหรือนำไปแปรรูป ยังเป็นที่ต้องการสูงมาก แต่พบปัญหาการปลูกที่ไม่ตอบสนองต่อการจัดการแบบอินทรีย์
จึงเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ ให้มีความสมบูรณ์แบบ ภายใต้ระบบอินทรีย์แบบแปลงเปิด แม้เกษตรกรจะเข้าใจรูปแบบการทำเกษตรอินทรีย์แล้ว แต่การปลูกมะเขือเทศอินทรีย์นั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้เมล็ดพันธุ์ผักการค้าเป็นหลัก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ภายใต้ระบบเคมีมาโดยตลอด ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นเมื่อนำมาผลิตภายใต้ระบบอินทรีย์ จึงเกิดปัญหาความอ่อนแอ โรคแมลงรุมเร้า ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์หรือการจัดการแบบอินทรีย์ จึงจำเป็น ต้องพัฒนาสายพันธุ์มะเขือเทศ ด้วยเทคนิคการรวมยีน การผสมข้ามพันธุ์ เพื่อเพิ่มยีนต้านทานโรค หรือเพิ่มลักษณะที่ต้องการ จากนั้นปลูกทดสอบในรูปแบบต่างๆ จนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว มีการวิเคราะห์ คัดเลือกพันธุ์สำหรับการบริโภคสด หรือนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
หลังจากได้เมล็ดมะเขือเทศพันธุ์แท้ พันธุ์ลูกผสมแล้ว ทดลองปลูกทั้งโรงเรือนและแปลงเปิด ภายใต้ระบบอินทรีย์ พบว่า ต้นมะเขือเทศ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมดี ทนโรคแมลง การเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง ผลสวย ลูกโตได้ขนาด มีสารสำคัญในมะเขือเทศตามที่ควรจะเป็น ลักษณะที่ได้ของมะเขือเทศทานสดผลใหญ่ คือ มีผลกลม สีแดงสด หรือส้มสด เนื้อหนา ผิวมันวาว เมล็ดน้อย น้ำหนักผลระหว่าง 250-400 กรัม/ผล ลักษณะที่ได้ของมะเขือเทศรับประทานสดผลเล็ก คือ ผลกลมรี หรือหยดน้ำ สีแดง ส้ม เหลือง น้ำตาล จำนวนผลไม่น้อยกว่า 8 ผล/ช่อ ขนาดผลระหว่าง 10-50 กรัม/ผล มะเขือเทศสีดา มีผลกลมหรือรี ผิวสีแดงอมชมพู เนื้อหนา รสชาติเปรี้ยวอมหวาน
มะเขือเทศอินทรีย์ เป็นอีกตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมมาพัฒนาสายพันธุ์ ตอบโจทย์โลกที่เปลี่ยนไป ใครที่ไม่ชอบทานมะเขือเทศอาจเปลี่ยนใจ หากได้ลองชิมมะเขือเทศอินทรีย์นี้
#เกษตรอินทรีย์ #มะเขือเทศอินทรีย์ #พัฒนาสายพันธุ์
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017