โครงการปรับปรุง พันธุ์ถั่วลิสง ให้มีผลผลิตสูง | สวก.
จากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีศักยภาพและเหมาะสม แต่ผลผลิตต่อไร่ ยังอยู่ในระดับต่ำ และพบปัญหาโรคและแมลงจึงมีโครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้มีผลผลิตสูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง ปัจจุบันมีถั่วลิสงหลายพันธุ์ ที่พัฒนาจากหน่วยงานของทางราชการ โดยพันธุ์ขนาดเมล็ดปานกลาง จะเป็นที่ต้องการของตลาด มากกว่าพันธุ์ขนาดเมล็ดโต ถั่วลิสงพันธุ์ ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 จะไม่ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสและมีเพลี้ยไฟเป็นแมลงพาหะ หากการระบาดของโรคยอดไหม้รุนแรง อาจทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50%
คณะวิจัยได้ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงด้านพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและความต้านทานต่อโรคยอดไหม้ โดยคัดเลือกถั่วลิสงสายพันธุ์ดีเด่น ทดสอบปลูกในไร่นาที่เคยมีประวัติการระบาดของโรค จนได้สายพันธุ์ที่เหมาะสม ดำเนินการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ และผลิตเมล็ดพันธุ์แจกจ่ายเกษตรกร
ใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงสายพันธุ์ที่ได้มาจากโครงการวิจัยนี้ ปลูกในนาเดิม พบว่าให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ได้ดีกว่าพันธุ์เดิม มีขนาดเมล็ดกำลังพอดี เป็นที่ต้องการของตลาด และโรงงานภาคอุตสาหกรรม ที่แปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (เช่น โก๋แก่ เป็นต้น)
โดยภาคเอกชน ได้ส่งเสริมการปลูกถั่วลิสงและรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในรูปแบบของระบบเกษตรพันธสัญญาหรือ “contrast farming” มีราคารับชื้อผลผลิตฝักถั่วลิสงไว้ที่ 30 บาทต่อกิโลกรัม (ความชื้นเมล็ดไม่เกิน 9 เปอร์เซ็นต์) เมื่อคำนวณผลผลิตต่อไร่แล้ว ต้นทุนคงที่หรือลดลง เกษตรกรก็มีกำไรก็มากขึ้นตามไปด้วย นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง เพื่อให้มีผลผลิตสูงขึ้น ต้านทานต่อโรค และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์สู่เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภูมิภาคอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย
#ถั่วลิสง #พันธุ์ถั่วลิสง #ปรับปรุงพันธุ์
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
จากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีศักยภาพและเหมาะสม แต่ผลผลิตต่อไร่ ยังอยู่ในระดับต่ำ และพบปัญหาโรคและแมลงจึงมีโครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้มีผลผลิตสูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง ปัจจุบันมีถั่วลิสงหลายพันธุ์ ที่พัฒนาจากหน่วยงานของทางราชการ โดยพันธุ์ขนาดเมล็ดปานกลาง จะเป็นที่ต้องการของตลาด มากกว่าพันธุ์ขนาดเมล็ดโต ถั่วลิสงพันธุ์ ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 จะไม่ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสและมีเพลี้ยไฟเป็นแมลงพาหะ หากการระบาดของโรคยอดไหม้รุนแรง อาจทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50%
คณะวิจัยได้ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงด้านพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและความต้านทานต่อโรคยอดไหม้ โดยคัดเลือกถั่วลิสงสายพันธุ์ดีเด่น ทดสอบปลูกในไร่นาที่เคยมีประวัติการระบาดของโรค จนได้สายพันธุ์ที่เหมาะสม ดำเนินการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ และผลิตเมล็ดพันธุ์แจกจ่ายเกษตรกร
ใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงสายพันธุ์ที่ได้มาจากโครงการวิจัยนี้ ปลูกในนาเดิม พบว่าให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ได้ดีกว่าพันธุ์เดิม มีขนาดเมล็ดกำลังพอดี เป็นที่ต้องการของตลาด และโรงงานภาคอุตสาหกรรม ที่แปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (เช่น โก๋แก่ เป็นต้น)
โดยภาคเอกชน ได้ส่งเสริมการปลูกถั่วลิสงและรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในรูปแบบของระบบเกษตรพันธสัญญาหรือ “contrast farming” มีราคารับชื้อผลผลิตฝักถั่วลิสงไว้ที่ 30 บาทต่อกิโลกรัม (ความชื้นเมล็ดไม่เกิน 9 เปอร์เซ็นต์) เมื่อคำนวณผลผลิตต่อไร่แล้ว ต้นทุนคงที่หรือลดลง เกษตรกรก็มีกำไรก็มากขึ้นตามไปด้วย นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง เพื่อให้มีผลผลิตสูงขึ้น ต้านทานต่อโรค และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์สู่เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภูมิภาคอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย
#ถั่วลิสง #พันธุ์ถั่วลิสง #ปรับปรุงพันธุ์
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017