การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน | สวก.
0:12 หลังจากการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ดีแล้ว หัวใจสำคัญในการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อน คือ การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ให้กับพ่อแม่พันธุ์ที่เตรียมไว้
0:20 ขั้นตอนการฉัดฮอร์โมนสังเคราะห์มีดังนี้
ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์บูเซริลีน อะซีเตท ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ดอมเพอริโดน ให้กับพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนโดย
– แม่ปลาใช้อัตราฮอร์โมนสังเคราะห์ 30 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักปลา
– พ่อปลาใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักปลา
สำหรับยาเสริมฤทธิ์ให้พ่อและแม่ปลาช่อน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักปลาเท่ากัน
0:52 การฉีดฮอร์โมน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณข้างตัวปลา หรือโคนครีบหู หลังจากการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในถังพลาสติกทรงสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร และใส่น้ำลึก 60 เซนติเมตร ถังละ 1 คู่ แล้วใส่เชือกฟางฉีกฝอย ผูกเป็นพวง ลอยในถังเพื่อแทนรังไข่ ปิดปากถังด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ รัดให้แน่นด้วยยางรัดของ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ในที่สงบ ไม่มีเสียงรบกวน ปลาจะผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ
1:29 จะพบไข่ที่ได้รับการผสมแล้วลอยบนผิวน้ำ ให้ช้อนไข่ตักเบาๆ ใส่ไปในถังพักทรงกลมและให้น้ำไหลผ่านตลอดเวลา และควรช้อนไข่เสียทิ้งเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้น้ำเน่าเสีย ไข่เสียจะทึบเป็นสีขาวขุ่น ส่วนไข่ดีจะมีสีเหลืองใส ลักษณะกลมเล็กลอยบนผิวน้ำเป็นกลุ่มๆ และมีไขมันมาก
1:53 การผสมพันธุ์ปลาช่อนโดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ เป็นขั้นตอนที่ผู้เลี้ยงสามารถทำได้เองโดยเกษตรกรสามารถหาซื้อฮอร์โมนสังเคราะห์ได้ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#ปลาช่อน #ฉีดฮอร์โมน #พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
0:12 หลังจากการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ดีแล้ว หัวใจสำคัญในการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อน คือ การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ให้กับพ่อแม่พันธุ์ที่เตรียมไว้
0:20 ขั้นตอนการฉัดฮอร์โมนสังเคราะห์มีดังนี้
ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์บูเซริลีน อะซีเตท ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ดอมเพอริโดน ให้กับพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนโดย
– แม่ปลาใช้อัตราฮอร์โมนสังเคราะห์ 30 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักปลา
– พ่อปลาใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักปลา
สำหรับยาเสริมฤทธิ์ให้พ่อและแม่ปลาช่อน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักปลาเท่ากัน
0:52 การฉีดฮอร์โมน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณข้างตัวปลา หรือโคนครีบหู หลังจากการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในถังพลาสติกทรงสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร และใส่น้ำลึก 60 เซนติเมตร ถังละ 1 คู่ แล้วใส่เชือกฟางฉีกฝอย ผูกเป็นพวง ลอยในถังเพื่อแทนรังไข่ ปิดปากถังด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ รัดให้แน่นด้วยยางรัดของ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ในที่สงบ ไม่มีเสียงรบกวน ปลาจะผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ
1:29 จะพบไข่ที่ได้รับการผสมแล้วลอยบนผิวน้ำ ให้ช้อนไข่ตักเบาๆ ใส่ไปในถังพักทรงกลมและให้น้ำไหลผ่านตลอดเวลา และควรช้อนไข่เสียทิ้งเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้น้ำเน่าเสีย ไข่เสียจะทึบเป็นสีขาวขุ่น ส่วนไข่ดีจะมีสีเหลืองใส ลักษณะกลมเล็กลอยบนผิวน้ำเป็นกลุ่มๆ และมีไขมันมาก
1:53 การผสมพันธุ์ปลาช่อนโดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ เป็นขั้นตอนที่ผู้เลี้ยงสามารถทำได้เองโดยเกษตรกรสามารถหาซื้อฮอร์โมนสังเคราะห์ได้ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืด
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#ปลาช่อน #ฉีดฮอร์โมน #พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
เรื่องที่เกี่ยวข้อง