วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

การส่งออกลองกองไปต่างประเทศ | สวก.

การส่งออกลองกองไปต่างประเทศ | สวก.

0:12 สถานการณ์ผลไม้ลองกองในประเทศไทยนั้น มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 350,000 ไร่ ซึ่งมีเกษตรกรปลูกประมาณ 140,000 ครัวเรือน และสามารถทำผลผลิตได้ประมาณ 150,000 ตัน แต่สามารถส่งออกได้เพียง 1,500 ตัน เท่านั้น เนื่องจากการหลุดร่วง เปลือกเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล และการเน่าเสีย อายุการเก็บรักษาและการวางจำหน่ายสั้น เพียง 4-7 วันเท่านั้น ซึ่งการจัดการระบบขนส่งให้ลองกองสดใหม่อยู่เสมอก่อนถึงมือผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยที่เกิดความเสียหายน้อยที่สุดนั้น สามารถแก้ไขได้ ซึ่งเราต้องมีขั้นตอนในการดูแลให้ถูกวิธีดังนี้

0:50 การดูแลลองกองก่อนส่งออกไปต่างประเทศ
– การจัดการอันดับแรก ให้ผู้ส่งออกตรวจสอบสวนลองกองที่มีการดูแลรักษาที่ดี และได้มาตรฐาน GAP เท่านั้น ช่อลองกองบนต้นสมบูรณ์ไม่มีราดำ หลังจากนั้นให้ดำเนินการกำจัดแก๊สเอทีลีนในผลลองกองให้เรียบร้อย เพื่อลดการหลุดร่วง
– ขนย้ายขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ตรังอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส
– ในระหว่างการเก็บรักษาในกระบวนการขนส่งลองกอง และการระบายอากาศที่ระดับ 2 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง
– เมื่อครบ 10 วัน จะมีลองกองหลุดร่วงเสียหายไม่เกิน 5%
– เมื่อรอขายอีก 4 วัน การหลุดร่วงและเน่าเสียจะไม่เกิน 10 % ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ลองกองมาจากแหล่งปลูกใด

1:46 ข้อดีของการจัดการลองกองวิธีนี้จะทำให้เพิ่มโอกาสในการส่งออก และระยะเวลาขนส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ไกลขึ้นถึง 10 วันเลยทีเดียว

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#ลองกอง #ส่งออก #ลองกองร่วง #ลองกอกเปลือกน้ำตาล
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​