รอบรู้เรื่องไส้เดือนฝอย | สวก.
0:15 ผลิตผักปลอดภัยโดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช
ต้นแบบวิธีการลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชในพื้นที่แปลงใหญ่ โดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลี พบว่าการผลิตและใช้ไส้เดือนฝอยควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลีในพื้นที่แปลงใหญ่ 101 ไร่ บนพื้นที่สูงจังหวัดตาก สามารถใช้ไส้เดือนฝอยทดแทนการใช้สารกำจัดแมลงได้ 67.3% จากจำนวนครั้ง ของการใช้สารกำจัดแมลงทั้งหมด มีการใช้ bt 12.7% และสารเคมีกำจัดแมลง 20% โดยไส้เดือนฝอยมีราคาถูกกว่า BT ถึง 5 เท่าและถูกกว่าสารเคมีกำจัดแมลงถึง 3.7 เท่า
1:12 วิธีการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช
– พ่นไส้เดือนฝอยในช่วงเช้าหรือเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดที่ทำให้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงตายหรือด้อยประสิทธิภาพลง
– ใช้ทางพ่นสารแบบสะพายหลังโดยพ่นให้ถูกตัวหนอนมากที่สุดช่วยให้ไส้เดือนฝอยเข้าสู่ตัวแมลงได้มากขึ้น
– กวนหรือเขย่าถังบ่อยครั้งหรือทุก 10 นาที เพื่อป้องกันการตกตะกอนอยู่ก้นถังของไส้เดือนฝอย
– ครั้งแรกใช้ไส้เดือนฝอยพ่นลงดินก่อน หรือพร้อมปลูกกะหล่ำปลีเพื่อกำจัดตัวอ่อนของด้วงหมัดผัก
– จะต้องตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอเมื่อพบแมลงศัตรูที่สำคัญคือ หนอนใยผักหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนคืบและด้วงหมัดผัก จำนวน 1 ตัวต่อ 2 ต้น ให้ใช้ไส้เดือนฝอยพ่นกำจัดในทันที
– อัตราการใช้และจำนวนครั้งของการพ่นสัมพันธ์กับการระบาดของแมลงในแปลงปลูก หากพบการระบาดมาให้พ่นทุก 5-7 วัน ถ้าระบาดน้อยให้พ่นทุก 10 วัน 3-5 ครั้งใน 1 รอบการผลิต
ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตไส้เดือนฝอยได้เพียงพอในบางช่วง จะให้ใช้ไส้เดือนฝอยกับกะหล่ำปลีที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวก่อน
2:40 ไส้เดือนฝอย กำจัดหอยทากศัตรูพืชที่สำคัญในสวนกล้วยไม้
การกำจัดหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้ 4 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 การกำจัดหอยทาก Kaliela sp. โดยใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 10D10 หรือไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 16B3 จากนั้นใส่กาบมะพร้าวแช่น้ำในกระถางจนเต็มเป็นเวลา 6 วัน วิธีที่ 2 การกำจัดหอยทาก Vertigo sp. โดยใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 16B3 เป็นเวลา 6 วัน วิธีที่ 3 การกำจัดหอยทาก Succinea horicola โดยการเพิ่มความชื้นในกระถางกล้วยไม้ โดยการใส่ใยมะพร้าวแช่น้ำในกระถางจนเต็มเป็นเวลา 6 วัน วิธีที่ 4 การกำจัดหอยทาก Vallonia sp. โดยการใช้แบคทีเรียสายพันธุ์ Delftia sp. โดยไม่มีกาบมะพร้าวในกระถางกล้วยไม้เป็นเวลา 6 วัน
ประโยชน์ของการใช้ไส้เดือนฝอย Rhabditida เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพต่อหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้ มีดังนี้ สามารถลดการแพร่ระบาดของหอยทาก ลดสารเคมีในการควบคุมหอยทาก อีกทั้งยังลดต้นทุนในการผลิตกล้วยไม้ ดังนั้นการควบคุมหอยทากศัตรูพืชโดยใช้ไส้เดือนฝอยRhabditidaเป็นตัวควบคุมทางชีวภาพ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
คลิปที่เกี่ยวไส้เดือนฝอย
ผลิตผักปลอดภัยโดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช
https://www.youtube.com/watch?v=RWwf3-vOSSA
ไส้เดือนฝอย กำจัดหอยทากศัตรูพืชที่สำคัญในสวนกล้วยไม้
https://www.youtube.com/watch?v=vWEGPJx8hl8
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#รอบรู้เรื่องไส้เดือนฝอย #ไส้เดือนฝอย #ไส้เดือน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
0:15 ผลิตผักปลอดภัยโดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช
ต้นแบบวิธีการลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชในพื้นที่แปลงใหญ่ โดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลี พบว่าการผลิตและใช้ไส้เดือนฝอยควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลีในพื้นที่แปลงใหญ่ 101 ไร่ บนพื้นที่สูงจังหวัดตาก สามารถใช้ไส้เดือนฝอยทดแทนการใช้สารกำจัดแมลงได้ 67.3% จากจำนวนครั้ง ของการใช้สารกำจัดแมลงทั้งหมด มีการใช้ bt 12.7% และสารเคมีกำจัดแมลง 20% โดยไส้เดือนฝอยมีราคาถูกกว่า BT ถึง 5 เท่าและถูกกว่าสารเคมีกำจัดแมลงถึง 3.7 เท่า
1:12 วิธีการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช
– พ่นไส้เดือนฝอยในช่วงเช้าหรือเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดที่ทำให้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงตายหรือด้อยประสิทธิภาพลง
– ใช้ทางพ่นสารแบบสะพายหลังโดยพ่นให้ถูกตัวหนอนมากที่สุดช่วยให้ไส้เดือนฝอยเข้าสู่ตัวแมลงได้มากขึ้น
– กวนหรือเขย่าถังบ่อยครั้งหรือทุก 10 นาที เพื่อป้องกันการตกตะกอนอยู่ก้นถังของไส้เดือนฝอย
– ครั้งแรกใช้ไส้เดือนฝอยพ่นลงดินก่อน หรือพร้อมปลูกกะหล่ำปลีเพื่อกำจัดตัวอ่อนของด้วงหมัดผัก
– จะต้องตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอเมื่อพบแมลงศัตรูที่สำคัญคือ หนอนใยผักหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนคืบและด้วงหมัดผัก จำนวน 1 ตัวต่อ 2 ต้น ให้ใช้ไส้เดือนฝอยพ่นกำจัดในทันที
– อัตราการใช้และจำนวนครั้งของการพ่นสัมพันธ์กับการระบาดของแมลงในแปลงปลูก หากพบการระบาดมาให้พ่นทุก 5-7 วัน ถ้าระบาดน้อยให้พ่นทุก 10 วัน 3-5 ครั้งใน 1 รอบการผลิต
ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตไส้เดือนฝอยได้เพียงพอในบางช่วง จะให้ใช้ไส้เดือนฝอยกับกะหล่ำปลีที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวก่อน
2:40 ไส้เดือนฝอย กำจัดหอยทากศัตรูพืชที่สำคัญในสวนกล้วยไม้
การกำจัดหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้ 4 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 การกำจัดหอยทาก Kaliela sp. โดยใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 10D10 หรือไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 16B3 จากนั้นใส่กาบมะพร้าวแช่น้ำในกระถางจนเต็มเป็นเวลา 6 วัน วิธีที่ 2 การกำจัดหอยทาก Vertigo sp. โดยใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ 16B3 เป็นเวลา 6 วัน วิธีที่ 3 การกำจัดหอยทาก Succinea horicola โดยการเพิ่มความชื้นในกระถางกล้วยไม้ โดยการใส่ใยมะพร้าวแช่น้ำในกระถางจนเต็มเป็นเวลา 6 วัน วิธีที่ 4 การกำจัดหอยทาก Vallonia sp. โดยการใช้แบคทีเรียสายพันธุ์ Delftia sp. โดยไม่มีกาบมะพร้าวในกระถางกล้วยไม้เป็นเวลา 6 วัน
ประโยชน์ของการใช้ไส้เดือนฝอย Rhabditida เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพต่อหอยทากศัตรูพืชในสวนกล้วยไม้ มีดังนี้ สามารถลดการแพร่ระบาดของหอยทาก ลดสารเคมีในการควบคุมหอยทาก อีกทั้งยังลดต้นทุนในการผลิตกล้วยไม้ ดังนั้นการควบคุมหอยทากศัตรูพืชโดยใช้ไส้เดือนฝอยRhabditidaเป็นตัวควบคุมทางชีวภาพ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
คลิปที่เกี่ยวไส้เดือนฝอย
ผลิตผักปลอดภัยโดยการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช
https://www.youtube.com/watch?v=RWwf3-vOSSA
ไส้เดือนฝอย กำจัดหอยทากศัตรูพืชที่สำคัญในสวนกล้วยไม้
https://www.youtube.com/watch?v=vWEGPJx8hl8
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#รอบรู้เรื่องไส้เดือนฝอย #ไส้เดือนฝอย #ไส้เดือน
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
เรื่องที่เกี่ยวข้อง