วันพุธ, 4 ธันวาคม 2567

รอบรู้เรื่องแพะนม | สวก.

รอบรู้เรื่องแพะนม | สวก.
0:15 ความรู้พื้นฐานอาหารแพะนม สำหรับเกษตรกร
ความรู้พื้นฐานอาหารและนมสำหรับเกษตรกร อาหารสำหรับแพะนมในช่วงการเจริญเติบโตนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโต การสร้างน้ำนม และสุขภาพร่างกายและกิจกรรมอื่น แนวทางการจัดการอาหารแพะในช่วงระยะเวลาของการให้ผลผลิตนั้นแบ่งเป็นช่วงเวลาของวงรอบการผลิตของแพะนม โดยเรียงลำดับตามความสำคัญได้เป็น 4 ช่วง ช่วงที่ 1 แพะท้อง 4 เดือนถึงคลอด ช่วงที่ 2 แพะคลอดใหม่ถึงระยะให้นมสูงที่สุด ช่วงที่ 3 หลังระยะให้นมสูงที่สุดถึงหยุดรีดนม ช่วงที่ 4 ระยะแห้งนมหรือ 30 วันแรกของการแห้งนม แพะจะต้องมีขนาดแรงร่างกายไม่ผอมไม่อ้วน และควรกินอาหารหยาบคุณภาพดีหากแพะผอมลงควรให้อาหารเพิ่มเล็กน้อยเพื่อปรับคะแนนร่างกายให้เหมาะสม

1:14 ประโยชน์ต้นข้าวโพดม่วง หมักเพื่อเป็นอาหารแพะและแกะ
ข้าวโพดม่วงมีสารสีม่วงเรียกว่า แอนโทไซยานิน สำหรับมนุษย์แอนโทไซยานินมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ส่วนในแพะและแกะพบว่าสารดังกล่าวมีผลต่อสถานอ็อกซิเดทีฟในเลือด สามารถลดภาวะความเครียด ซึ่งเกิดจากการที่มีพยาธิ ทำให้สมรรถภาพในการให้ผลผลิตลดลง ประโยชน์ของสารแทนนินจากข้าวโพด มีผลต่อจุลินทรีย์กลุ่มที่ผลิตแก๊สมีเทนลดลง เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ต้นข้าวโพดม่วงหมักสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของแพะเนื้อ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ สามารถเก็บข้าวโพดหมักไว้ใช้ในยามขาดแคลน เช่น ในช่วงฤดูแล้ง และการได้รับสารแอนโทไซยานินจากข้าวโพดม่วงหมัก สามารถกำจัดอนุมูลอิสระในภาวะที่มีความเครียดแพะมีสุขภาพดี

2:11 แนวทางการจัดการอาหารแพะนม ช่วงก่อนและหลังคลอด
การจัดการอาหารและนม จะมีอยู่ 4 ระยะคือ
– ระยะที่ 1 เป็นระยะแพะท้อง 4 เดือนถึงก่อนคลอด ซึ่งการให้อาหารแพะนมในระยะนี้ เกษตรกรควรให้อาหารหยาบคุณภาพดี และต้องมีอาหารหยาบให้แพะนมกินตลอด 24 ชั่วโมง
– ระยะที่ 2 คือระยะและหลังคลอดใหม่ ถึงระยะให้นมสูงสุด ซึ่งการให้อาหารในช่วงนี้ จะให้อาหารมากกว่าความต้องการเล็กน้อย และให้อาหารข้นที่มีสารอาหารสูง พร้อมกับอาหารหยาบที่ดี
– ระยะที่ 3 คือระยะหลังให้นมสูงสุดและท้อง 1-3 เดือน ซึ่งในช่วงนี้ต้องให้อาหารข้นตามปริมาณน้ำนม ปริมาณ 400 ถึง 500 กรัมต่อปริมาณน้ำนม 1 กิโลกรัม และให้อาหารหยาบแพะกินตลอดเวลา
– ระยะที่ 4 คือระยะช่วงแห้งนม และพักท้อง 3 เดือน เกษตรกรต้องหยุดการให้อาหารข้น แต่ให้อาหารหยาบคุณภาพดีเท่านั้น
ซึ่งหากแพะนมได้ปริมาณอาหารตามปริมาณความต้องการ ในแต่ละช่วงวัยที่พอดีแล้ว จะทำให้แพะนมให้ผลผลิตที่มากขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

2:52 การประเมินความสำเร็จการจัดการอาหารแพะนม
การจัดการอาหารสำหรับแพะนมนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยเพื่อให้ประสบความสำเร็จ การประเมินหรือการวัดความสำเร็จของการจัดการอาหาร เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรควรรู้ การจัดการอาหารสำหรับแพะนมประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ อาหารที่จะให้แพะกิน การให้อาหาร การกินได้ของแพะ ทั้ง 3 ส่วนนี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การจัดการอาหารนั้นประสบความสำเร็จ

การที่จะวัดความสำเร็จของการจัดการอาหาร เกษตรกรควรจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆต่อไปนี้ การเคี้ยวเอื้อง การเคี้ยวเอื้องที่มาก บอกถึงสภาพการทำงานที่ดีของทางเดินอาหารของแพะ ถือว่าเป็นการจัดการอาหารที่ประสบความสำเร็จ การสังเกตมูลแพะ เป็นการประเมินผลลัพธ์ของอาหารที่ให้แพะกิน

ติดตามคลิปที่่น่าสนใจเกี่ยวกับแพะนม
ความรู้พื้นฐานอาหารแพะนม สำหรับเกษตรกร https://www.youtube.com/watch?v=P9TQ5_aJfKc
ประโยชน์ต้นข้าวโพดม่วง หมักเพื่อเป็นอาหารแพะและแกะ https://www.youtube.com/watch?v=-d95jcUL_VI
แนวทางการจัดการอาหารแพะนม ช่วงก่อนและหลังคลอด https://www.youtube.com/watch?v=2YTflhS7RMA
การประเมินความสำเร็จการจัดการอาหารแพะนม https://www.youtube.com/watch?v=BTtGCECYR7w

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#แพะนม #รอบรู้เรื่องแพะนม​ ​​ #เลี้ยงแพะนม
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​