รอบรู้เรื่องมันสำปะหลัง | สวก.
0:15 การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ แบบแม่นยำ
สำหรับการปลูกมันสำปะหลัง ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการจัดการดิน ปุ๋ยและน้ำอย่างแม่นยำ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังในระบบเกษตรอินทรีย์ จะไม่สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ ดังนั้น การปลูกพืชตระกูลถั่ว จึงเป็นการค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่มันสำปะหลัง และจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย
0:35 การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วแซมร่องมัน
การปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์นั้น ความสมดุลของธาตุอาหารในดิน และน้ำที่เพียงพอ มีผลต่อการเจริญเติบโต และลักษณะของต้นพืช การปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่และเวลาเดียวกัน หรือไล่เลี่ยกัน จึงเป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ต่อพื้นที่ โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ที่สามารถตรึงไนโตรเจน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน ส่งผลให้พืชทั้งสองชนิด ทั้งมันสำปะหลังและถั่ว ให้ผลผลิตสูงขึ้น เมื่อเทียบกับการปลูกพืชแซมชนิดอื่น และยังสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีอีกด้วย
1:13 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู
เพลี้ยแป้งสีชมพู คือศัตรูที่ทำความเสียหายต่อไร่มันสำปะหลังมากที่สุดและรุนแรงมากที่สุด ที่ทำให้ผลผลิตในไร่มันสำปะหลังลดลงมากสุดถึง 80 % กรมวิชาการเกษตรจึงได้นำเข้าแตนเบียนอะนาไจรัสมาเพาะเลี้ยงและวิจัย โดยแตนเบียนจะดูดกินของเหลวจากตัวเพลี้ยแป้งสีชมพูเป็นอาหาร ทำให้เพลี้ยแป้งสีชมพูตายทันที หรือวางไข่ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู วิธีนี้จะทำให้เพลียแป้งสีชมพูตายลงอย่างช้าๆ
1:43 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนไรแดง ไรแมงมุม
ไรแดงมักระบาดในฤดูแล้งและช่วงที่มีอากาศร้อนฝนทิ้งช่วงนานๆ โดยจะแพร่กระจายไปตามลม
วิธีการป้องกันและกำจัดไรแดง
1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่สภาพแวดล้อมแห้งแล้ง หรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
2. มันตรวจแปลงมันสำปะหลังในช่วงแล้ง เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของไรแดง ควรเก็บส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง
2:15 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคแอนแทรคโนส
โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า คอลเลตโตตริกัม กริโอสปอริออยเดส ซึ่งจะพบมากในช่วงหน้าฝน สำหรับอาการของโรคนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลัง สภาพแวดล้อม
วิธีป้องกันและกำจัดโรคแอนแทรคโนส
1. เลือกใช้มันสำปะหลังที่ต้านทานโรค
2. สำหรับพื้นที่ที่ใช้ปลูก ควรปลูกพืชหมุนเวียน เศษซากมันสำปะหลังที่ติดเชื้อควรไถกลบฝังดินลึกๆ
3. ไม่นำมันสำปะหลังที่ติดเชื้อโรคนี้ไปเป็นท่อนพันธุ์เพื่อใช้ปลูกในฤดูถัดไป
4. หากโรคแพร่ระบาดอย่างรุนแรงให้เลือกสารเคมีที่มีองค์ประกอบของทองแดง ในการฉีดพ่น เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ใช้อัตรา 30- 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 85% wp ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน
2:46 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคใบไหม้
โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง อาการเริ่มแรกจะมีจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ เหี่ยวและหลุดร่วงในที่สุด
สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ถ้าโรคเกิดการระบาดรุนแรงในช่วง 1-4 เดือนแรกจะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังเสียหายหรืออาจตายได้ การป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ เกษตรกรควรเลือกใช้พันธุ์ที่ทนทาน ต้านทานต่อโรคเช่น ระยอง 90 ระยอง9
3:21 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรครากและหัวเน่า
โรครากและหัวมันสำปะหลังเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า เป็นเชื้อราที่มองไม่เห็น แพร่ระบาดในหน้าฝน มันสำปะหลังจะแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป
การป้องกันโรครากและหัวเน่าในมันสำปะหลัง
1. เกษตรกรควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด อ้อย หากต้องการปลูกมันควรปลูกในช่วงฤดูแล้งเพื่อเก็บเกี่ยวได้ทันก่อนช่วงที่ฝนตก
2. หลังเก็บเกี่ยวเก็บเหง้าตอและต้นมันสำปะหลังออกจากแปลง และเผาเพื่อฆ่าเชื้อ
3:55 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งศัตรูร้ายอันดับ 1 ในไร่มันสำปะหลัง มักพบเพลี้ยแป้งระบาดมากในช่วงหน้าแล้ง เพลี้ยแป้งสามารถทำลายต้นมันสำปะหลังระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 1-4 เดือนแรก ไร่มันสำปะหลังเสียหายได้มากถึง 90% วิธีการจัดการกับเพลี้ยแป้งให้ได้ผลดีที่สุดคือ
การแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนนำไปปลูก แบ่งท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้แช่ลงในส่วนผสมให้จมมิดน้ำยาทั้งท่อนนาน 5-10 นาที หลังจากแช่ท่อนพันธุ์เสร็จให้นำท่อนพันธุ์ไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง และนำไปปลูกให้เสร็จภายใน 1 วัน
คลิปที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง
การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ แบบแม่นยำ
https://www.youtube.com/watch?v=QREJDyh_mVw
การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วแซมร่องมัน
https://www.youtube.com/watch?v=xfRv2czyk8U
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู
https://www.youtube.com/watch?v=krp4ueXGtLk
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนไรแดง ไรแมงมุม
https://www.youtube.com/watch?v=0yiqBgt1nLA
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคแอนแทรคโนส
https://www.youtube.com/watch?v=YKJd8s9d7iY
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคใบไหม้
https://www.youtube.com/watch?v=xLoIdIbxsCY
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรครากและหัวเน่า
https://www.youtube.com/watch?v=slL1um3XzQM
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้ง
https://www.youtube.com/watch?v=FrBy01xx1DU
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#มันสำปะหลัง #ระบบอินทรีย์ #โรคแอนแทรคโนส
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
0:15 การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ แบบแม่นยำ
สำหรับการปลูกมันสำปะหลัง ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการจัดการดิน ปุ๋ยและน้ำอย่างแม่นยำ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังในระบบเกษตรอินทรีย์ จะไม่สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ ดังนั้น การปลูกพืชตระกูลถั่ว จึงเป็นการค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่มันสำปะหลัง และจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย
0:35 การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วแซมร่องมัน
การปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์นั้น ความสมดุลของธาตุอาหารในดิน และน้ำที่เพียงพอ มีผลต่อการเจริญเติบโต และลักษณะของต้นพืช การปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่และเวลาเดียวกัน หรือไล่เลี่ยกัน จึงเป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ต่อพื้นที่ โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ที่สามารถตรึงไนโตรเจน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน ส่งผลให้พืชทั้งสองชนิด ทั้งมันสำปะหลังและถั่ว ให้ผลผลิตสูงขึ้น เมื่อเทียบกับการปลูกพืชแซมชนิดอื่น และยังสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีอีกด้วย
1:13 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู
เพลี้ยแป้งสีชมพู คือศัตรูที่ทำความเสียหายต่อไร่มันสำปะหลังมากที่สุดและรุนแรงมากที่สุด ที่ทำให้ผลผลิตในไร่มันสำปะหลังลดลงมากสุดถึง 80 % กรมวิชาการเกษตรจึงได้นำเข้าแตนเบียนอะนาไจรัสมาเพาะเลี้ยงและวิจัย โดยแตนเบียนจะดูดกินของเหลวจากตัวเพลี้ยแป้งสีชมพูเป็นอาหาร ทำให้เพลี้ยแป้งสีชมพูตายทันที หรือวางไข่ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู วิธีนี้จะทำให้เพลียแป้งสีชมพูตายลงอย่างช้าๆ
1:43 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนไรแดง ไรแมงมุม
ไรแดงมักระบาดในฤดูแล้งและช่วงที่มีอากาศร้อนฝนทิ้งช่วงนานๆ โดยจะแพร่กระจายไปตามลม
วิธีการป้องกันและกำจัดไรแดง
1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่สภาพแวดล้อมแห้งแล้ง หรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
2. มันตรวจแปลงมันสำปะหลังในช่วงแล้ง เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของไรแดง ควรเก็บส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง
2:15 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคแอนแทรคโนส
โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า คอลเลตโตตริกัม กริโอสปอริออยเดส ซึ่งจะพบมากในช่วงหน้าฝน สำหรับอาการของโรคนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลัง สภาพแวดล้อม
วิธีป้องกันและกำจัดโรคแอนแทรคโนส
1. เลือกใช้มันสำปะหลังที่ต้านทานโรค
2. สำหรับพื้นที่ที่ใช้ปลูก ควรปลูกพืชหมุนเวียน เศษซากมันสำปะหลังที่ติดเชื้อควรไถกลบฝังดินลึกๆ
3. ไม่นำมันสำปะหลังที่ติดเชื้อโรคนี้ไปเป็นท่อนพันธุ์เพื่อใช้ปลูกในฤดูถัดไป
4. หากโรคแพร่ระบาดอย่างรุนแรงให้เลือกสารเคมีที่มีองค์ประกอบของทองแดง ในการฉีดพ่น เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ใช้อัตรา 30- 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 85% wp ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน
2:46 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคใบไหม้
โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง อาการเริ่มแรกจะมีจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ เหี่ยวและหลุดร่วงในที่สุด
สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ถ้าโรคเกิดการระบาดรุนแรงในช่วง 1-4 เดือนแรกจะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังเสียหายหรืออาจตายได้ การป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ เกษตรกรควรเลือกใช้พันธุ์ที่ทนทาน ต้านทานต่อโรคเช่น ระยอง 90 ระยอง9
3:21 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรครากและหัวเน่า
โรครากและหัวมันสำปะหลังเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า เป็นเชื้อราที่มองไม่เห็น แพร่ระบาดในหน้าฝน มันสำปะหลังจะแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป
การป้องกันโรครากและหัวเน่าในมันสำปะหลัง
1. เกษตรกรควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด อ้อย หากต้องการปลูกมันควรปลูกในช่วงฤดูแล้งเพื่อเก็บเกี่ยวได้ทันก่อนช่วงที่ฝนตก
2. หลังเก็บเกี่ยวเก็บเหง้าตอและต้นมันสำปะหลังออกจากแปลง และเผาเพื่อฆ่าเชื้อ
3:55 รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งศัตรูร้ายอันดับ 1 ในไร่มันสำปะหลัง มักพบเพลี้ยแป้งระบาดมากในช่วงหน้าแล้ง เพลี้ยแป้งสามารถทำลายต้นมันสำปะหลังระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 1-4 เดือนแรก ไร่มันสำปะหลังเสียหายได้มากถึง 90% วิธีการจัดการกับเพลี้ยแป้งให้ได้ผลดีที่สุดคือ
การแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนนำไปปลูก แบ่งท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้แช่ลงในส่วนผสมให้จมมิดน้ำยาทั้งท่อนนาน 5-10 นาที หลังจากแช่ท่อนพันธุ์เสร็จให้นำท่อนพันธุ์ไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง และนำไปปลูกให้เสร็จภายใน 1 วัน
คลิปที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง
การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ แบบแม่นยำ
https://www.youtube.com/watch?v=QREJDyh_mVw
การปลูกมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ ด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วแซมร่องมัน
https://www.youtube.com/watch?v=xfRv2czyk8U
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้งสีชมพู
https://www.youtube.com/watch?v=krp4ueXGtLk
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนไรแดง ไรแมงมุม
https://www.youtube.com/watch?v=0yiqBgt1nLA
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคแอนแทรคโนส
https://www.youtube.com/watch?v=YKJd8s9d7iY
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรคใบไหม้
https://www.youtube.com/watch?v=xLoIdIbxsCY
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนโรครากและหัวเน่า
https://www.youtube.com/watch?v=slL1um3XzQM
รู้ทันศัตรูพืชเรื่องมันสำปะหลัง ตอนเพลี้ยแป้ง
https://www.youtube.com/watch?v=FrBy01xx1DU
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#มันสำปะหลัง #ระบบอินทรีย์ #โรคแอนแทรคโนส
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
เรื่องที่เกี่ยวข้อง