Research update : การจัดการทรัพยากรหอยลาย | สวก.
หอยลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก และแน่นอนเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้น ก็เกิดการจับหอยลายมากขึ้น ทำให้ทรัพยากรหอยลายลดลง ทาง สวก. ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยกับกรมประมง
หอยลายมีฝาทั้งสองเท่ากัน เปลือกบาง มีลวดลายตาข่ายสีน้ำตาลเข้มตลอดความยาวของเปลือก และขอบบนฝาด้านในมีฟันด้านละ 3 ซี่ หอยลายนับว่าเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของไทย นอกจากเป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกที่มีความต้องการสูงในตลาดต่างประเทศ
หอยขนาดเล็กยังไม่มีการออกลูกออกหลานที่จะให้เราใช้ประโยชน์ในรุ่นต่อไป ทำให้หอยลายลดลงอย่างรวดเร็ว โครงการนี้จึงได้ทำการศึกษา โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สวก. เป็นระยะเวลา 3 ปี ตอนนี้โครงการวิจัยได้ดำเนินการไป 1 ปี ในโครงการนี้มีทั้งหมด 3 กิจกรรม กิจกรรมแรกคือการเพาะเลี้ยงหอยลาย เนื่องจากว่าผลผลิตจากธรรมชาติมีปริมาณที่ลดลง เราจึงช่วยเพิ่มประชากรของหอยลายขึ้นไปอีกทางหนึ่ง โดยในโครงการ เราได้ทำการศึกษาไปถึงการเพาะ การอนุบาล ในการอนุบาลมีทั้งในโรงเพาะฟักและในบ่อดิน การอนุบาลในบ่อดินเป็นการลดต้นทุน ให้มีต้นทุนถูกมากที่สุด รวมไปถึงการศึกษาการเลี้ยงหอยลายในสเกลขนาดใหญ่ในบ่อดิน เพื่อเป็นการจำหน่ายอีกด้วย เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตอีกทางหนึ่ง
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หอยลายที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นผลผลิตที่ได้มาจากทะเลแทบทั้งสิ้น และเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้นการจับหอยลายก็มากขึ้นเช่นกัน ประกอบกับชาวประมงนิยมใช้คราดหอยที่มีความถี่ของซี่คราดแคบ ทำให้หอยลายในธรรมชาติเกิดทดแทนกันไม่ทัน สวก. จึงได้ให้ทุนสนับสนุนแก่กรมประมงเพื่อศึกษาวิจัยโครงการเพาะเลี้ยงและการจัดการทรัพยากรหอยลาย และเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้น ก็เลยทำให้ทรัพยากรหอยลายลดลง ทาง สวก.ก็ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการแก่กรมประมง ในการวิจัยโครงการเพาะเลี้ยงและการจัดการทรัพยากรหอยลายจนประสบผลสำเร็จสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วในระดับหนึ่ง
หลังจากที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงหอยลาย สวก. กับกรมประมงได้เดินทางมาที่จังหวัดตราดเพื่อปล่อยหอยลายคืนสู่ธรรมชาติ
เราปล่อยหอยลายไปจำนวน 1,000,000 ตัว คาดว่าจะมีพ่อแม่พันธุ์ที่จะรอดประมาณ 10% หรือประมาณ 100,000 ตัว ซึ่งจะทำให้เกิดลูกหอยซึ่งภายใน 1 ปีถ้าไม่มีการจับหอยลายเลย คิดว่าน่าจะเพิ่มมาประมาณ 500 ล้านตัว ซึ่งจะเป็นมูลค่ามหาศาลเลยที่จะเพิ่มให้ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และก็มีพ่อแม่พันธุ์ มีความยั่งยืน มูลค่าที่เราปล่อยเลยวันนี้ใน 1 ปีจะเพิ่มมูลค่าไปถึง 350 ล้านบาท
โครงการนี้มีประโยชน์มากๆ เพราะจะทำให้เราได้ทานของอร่อยๆแล้ว ยังช่วยประชากรหอยลาย และที่สำคัญยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรด้วย
#หอยลาย #เพาะพันธุ์ #หอย #เลี้ยง #วิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
หอยลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก และแน่นอนเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้น ก็เกิดการจับหอยลายมากขึ้น ทำให้ทรัพยากรหอยลายลดลง ทาง สวก. ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยกับกรมประมง
หอยลายมีฝาทั้งสองเท่ากัน เปลือกบาง มีลวดลายตาข่ายสีน้ำตาลเข้มตลอดความยาวของเปลือก และขอบบนฝาด้านในมีฟันด้านละ 3 ซี่ หอยลายนับว่าเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของไทย นอกจากเป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกที่มีความต้องการสูงในตลาดต่างประเทศ
หอยขนาดเล็กยังไม่มีการออกลูกออกหลานที่จะให้เราใช้ประโยชน์ในรุ่นต่อไป ทำให้หอยลายลดลงอย่างรวดเร็ว โครงการนี้จึงได้ทำการศึกษา โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สวก. เป็นระยะเวลา 3 ปี ตอนนี้โครงการวิจัยได้ดำเนินการไป 1 ปี ในโครงการนี้มีทั้งหมด 3 กิจกรรม กิจกรรมแรกคือการเพาะเลี้ยงหอยลาย เนื่องจากว่าผลผลิตจากธรรมชาติมีปริมาณที่ลดลง เราจึงช่วยเพิ่มประชากรของหอยลายขึ้นไปอีกทางหนึ่ง โดยในโครงการ เราได้ทำการศึกษาไปถึงการเพาะ การอนุบาล ในการอนุบาลมีทั้งในโรงเพาะฟักและในบ่อดิน การอนุบาลในบ่อดินเป็นการลดต้นทุน ให้มีต้นทุนถูกมากที่สุด รวมไปถึงการศึกษาการเลี้ยงหอยลายในสเกลขนาดใหญ่ในบ่อดิน เพื่อเป็นการจำหน่ายอีกด้วย เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตอีกทางหนึ่ง
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หอยลายที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นผลผลิตที่ได้มาจากทะเลแทบทั้งสิ้น และเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้นการจับหอยลายก็มากขึ้นเช่นกัน ประกอบกับชาวประมงนิยมใช้คราดหอยที่มีความถี่ของซี่คราดแคบ ทำให้หอยลายในธรรมชาติเกิดทดแทนกันไม่ทัน สวก. จึงได้ให้ทุนสนับสนุนแก่กรมประมงเพื่อศึกษาวิจัยโครงการเพาะเลี้ยงและการจัดการทรัพยากรหอยลาย และเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้น ก็เลยทำให้ทรัพยากรหอยลายลดลง ทาง สวก.ก็ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการแก่กรมประมง ในการวิจัยโครงการเพาะเลี้ยงและการจัดการทรัพยากรหอยลายจนประสบผลสำเร็จสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วในระดับหนึ่ง
หลังจากที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงหอยลาย สวก. กับกรมประมงได้เดินทางมาที่จังหวัดตราดเพื่อปล่อยหอยลายคืนสู่ธรรมชาติ
เราปล่อยหอยลายไปจำนวน 1,000,000 ตัว คาดว่าจะมีพ่อแม่พันธุ์ที่จะรอดประมาณ 10% หรือประมาณ 100,000 ตัว ซึ่งจะทำให้เกิดลูกหอยซึ่งภายใน 1 ปีถ้าไม่มีการจับหอยลายเลย คิดว่าน่าจะเพิ่มมาประมาณ 500 ล้านตัว ซึ่งจะเป็นมูลค่ามหาศาลเลยที่จะเพิ่มให้ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และก็มีพ่อแม่พันธุ์ มีความยั่งยืน มูลค่าที่เราปล่อยเลยวันนี้ใน 1 ปีจะเพิ่มมูลค่าไปถึง 350 ล้านบาท
โครงการนี้มีประโยชน์มากๆ เพราะจะทำให้เราได้ทานของอร่อยๆแล้ว ยังช่วยประชากรหอยลาย และที่สำคัญยังเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรด้วย
#หอยลาย #เพาะพันธุ์ #หอย #เลี้ยง #วิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง