วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว | สวก.

การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว | สวก.

การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งเป็นวิธีการที่ปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรง จะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วิธีการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งมีวิธีการดังนี้

หลังหว่านข้าวระบายน้ำออกให้แห้ง เพื่อให้เข้างอกสม่ำเสมอ หลังหว่านข้าว 10 วัน พ่นสารคุมวัชพืช หลังพ่นสารควบคุม 2 วัน ให้สูบน้ำเข้าแปลงที่ระดับครึ่งต้นข้าว เพื่อควบคุมวัชพืชไม่ให้งอก และเพื่อหว่านปุ๋ยครั้งที่ 1 ปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติจนถึงระดับ 15 cm ลึกจากผิวดิน เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศเพิ่มความแข็งแรงของร่างให้ดูดธาตุอาหารได้ดีขึ้น สูบน้ำเข้าแปลงที่ระดับ 5 เซนติเมตร สูงจากผิวดิน เพื่อการหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 และรักษาระดับนี้ไว้จนถึงระยะข้าวโน้มรวง ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอเก็บเกี่ยวได้สะดวก

การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งมีข้อดีมากมาย ประหยัดน้ำ ทำให้ต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศ พอได้รับอากาศเสร็จ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย เมื่อดูดอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย

การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกของเกษตรกรในยุคที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาข้าวได้ถึง 28 % ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำนาแบบทั่วไป อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตอีกด้วย


#การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง #ข้าว #น้ำ
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา#สวก.

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017