วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

การเสวนาในหัวข้อ “กากถั่วเหลือง แหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ควรรู้”

ใครจะเชื่อว่า “กากถั่วเหลือง” จะเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง สามารถนำมาใช้ทดแทนปลาป่น ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง?ได้ และมีประโยชน์มากมาย แต่จะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในรายการ ARDA Talk.?

ผู้ร่วมเสวนา
รศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ กรรมการพิจารณา ติดตาม และประเมินผลโครงการ กลุ่มเรื่อง สัตว์เศรษฐกิจ ของ สวก.
รศ.ดร.นิติ ชูเชิด ภาควิชาชีววิทยา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น.สพ.ปรีชา เอกธรรมสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที อาร์ เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในโลกเลย ที่สามารถที่จะผลิตสินค้าอาหารทะเลเพื่อป้อนความต้องการของผู้บริโภคได้ หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของกุ้งขาว ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตได้ถึงปีละ 260,000 ตัน และเมื่อคำนวนเป็นอาหารสัตว์ที่จะต้องใช้ในการเลี้ยงกุ้งแล้ว จะต้องใช้อาหารอยู่ที่ประมาณ 364,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 138 ล้านบาท อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยประสบกับปัญหาทรัพยากรทางประมงในทะเลลดลง ทำให้การหาอาหารปลาป่นมาเพื่อมาเป็นอาหารกุ้งยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ ทางสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรจึงได้สนับสนุนทุนวิจัยในการที่จะนำเอากากถั่วเหลืองหมัก มาใช้เป็นอาหารแทนปลาป่น เพื่อที่จะแก้ปัญหาในเรื่องของการผลิตกุ้งขาวในประเทศไทย ดังนั้นผลงานวิจัยที่ สวก. ได้รับมาจากนักวิจัยก็คือ สามารถที่จะนำเอากากถั่วเหลืองมาหมักด้วยบาซิลลัส ก็ใช้เป็นอาหารแทนปลาป่นได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคขี้ขาวในกุ้ง และสามารถที่จะให้อุตสาหกรรมอาหารกุ้งนั้นใช้กากถั่วเหลืองที่หมักแล้วมาทดแทนตามผลได้ร้อยละ 25 ซึ่งเป็นการลดการสูญเสียทรัพยากรทางทะเลได้อีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการลดต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศไทยด้วย และสุดท้ายกากถั่วเหลืองซึ่งถูกนำมาแปรรูปแล้วนั้นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกทอดหนึ่ง

IUU ให้ใบเหลืองกับประเทศไทยในเรื่องของการทำประมง ทำให้ส่งผลกระทบต้องการส่งออกสัตว์น้ำรวมไปถึงกุ้งด้วย ทำให้ต้องมีการจัดระเบียบและหาแนวทางอก รวมไปถึงการเลี้ยงกุ้งที่จะต้องใช้ปลาป่นเป็นส่วนผสมของอาหารมากถึง 35 % โดยทาง IUU กำหนดว่าจะต้องไม่เกินที่ 7% โดยจากงานวิจัยที่ผ่านมาจากถั่วเหลืองสามารถใช้เป็นอาหารทดแทนปลาป่นได้ แต่ยังประสบปัญหาในเรื่องของการย่อยของกุ้ง เนื่องจากกุ้งมีลำไส้สั้น สามารถย่อยกากถั่วเหลืองได้เพียง 55 % เท่านั้น เนื่องจากมีไฟเบอร์จำนวนมากหรือที่เรียกว่าสารต้านโภชนาการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้สารต้านโภชนาการที่มีอยู่ในกากถั่วเหลือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของตับและตับอ่อนของกุ้ง มีความสามารถในการดูดซึมอาหารลดลง

จึงมีการคิดค้นและพัฒนากากถั่วเหลืองโดยใช้จุลินทรีย์มาย่อยกากถั่วเหลือง โดยใช้จุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสมาย่อยกากถั่วเหลือง ทำให้กากถั่วเหลืองมีขนาดเล็กลง โดยจุลินทรีย์จะเข้ามาทำลายสารต้านโภชนาการทำให้กากถั่วเหลืองมีขนาดเล็กลง มีสัดส่วนของเปปไทด์ขนาดเล็กสูงขึ้น รวมไปถึงกุ้งยังสามารถดูดซึมและนำสารอาหารไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้กุ้งมีสุขภาพแข็งแรงมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ลดปัญหาเซลล์ตับลอกหลุด ทนทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคมากขึ้น มีอัตราการรอดตายมากขึ้น และมีผลผลิตที่สูงขึ้น

กากถั่วเหลืองหมักมีโปรตีนประมาณ 52 % ปลาป่นมีโปรตีน 60% โดยใช้กากถั่วเหลืองหมัก 10 % ในสูตรทดแทนปลาป่นได้ 8% จากการส่งออกอาหารกุ้งประมาณ 450,000 ตัน จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 350 ล้านบาท หรือเกษตรกรสามารถซื้ออาหารกุ้งได้ในราคาที่ลดลง 80 สตางค์ต่อกิโลกรัม ลดการใช้ปลาป่นได้ 36,000ตันต่อปี คิดเป็นปลาสดที่มาทำปลาป่นประมาณเกือบ 200,000 ตันต่อปีและยังสามารถนำไปปรับใช้กับอาหารปลาได้โดยจะสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 20-30 สตางค์ต่อกิโลกรัม

สามารถอัดเม็ดขึ้นรูปอาหารกุ้งได้ดีขึ้นมีความคงตัวอยู่ในน้ำได้นานขึ้นเมื่อกุ้งกินไปแล้วจะทำให้ย่อยง่าย ย่อยได้เร็วสามารถดูดซึมได้เร็ว และในอนาคตอาจจะได้ใช้กากถั่วเหลืองแทนปลาป่น 100%


#กากถั่วเหลือง #โปรตีน ​​ #กุ้ง #covid19​​​ #โควิด19​​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017