วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

การเสวนาในหัวข้อ “Smart Farming กุญแจสำคัญแห่งเกษตรกรรมยุคดิจิทัล”

ตอนนี้หันไปทางไหน ใครๆก็พูดถึง Smart Farming การเกษตรที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ เน้นการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนไปพร้อมกับการเกษตรในปัจจุบัน มาร่วมไขกุญแจสู่เกษตรกรรมแห่งยุคดิจิทัลพร้อมกันได้ในรายการ ARDA Talk.
ผู้ร่วมเสวนา
– ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
– ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ผศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี อาจารย์ประจำหลักสูตรพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Smart Farming คืออะไร
การทำเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยในการจัดการระบบการทำงานทุกอย่างภายในฟาร์มของเกษตรกร ช่วยห้เกษตรกรจัดการฟาร์มจัดการผลผลิตของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทิศทางของเกษตร Smart farming ของประเทศไทยในระดับชาติ
หุ่นยนต์อัตโนมัติมีความสำคัญที่จะมาช่วยเกษตรกรในด้านแรงงาน รวมไปถึงข้อมูลเทคโนโลยีต่างๆซึ่งมีเยอะมาก แต่เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้มากนัก

มีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะช่วยให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้
ตอนนี้กำลังมีการพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆไว้ในที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหาและการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เช่น ในต่างประเทศจะมีทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนนำข้อมูลมาแชร์กันเป็นตลาดข้อมูลให้เกษตรกรทุกคนได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์และใช้ในประโยชน์ในการทำเกษตร

สวก. มีแนวทางการส่งเสริม Smart farming กับเกษตรกรอย่างไรบ้าง
สวก. มีทุนวิจัยให้ในกรอบการทำงานที่ 3 คือการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันมากกว่า 340 ล้านบาท ภาคการเกษตรของไทยจะต้องมีความสามารถในการแข่งขันได้ โดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการวิเคราะห์เพื่อการจัดการด้านการเกษตร วางแผนเพื่อจัดการการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทุกๆด้านของเกษตรกร
ในปี 2563 ตั้งเป้าวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนคือ จะต้องชี้ให้ได้ว่าเมื่อทำไปแล้วจะสามารถช่วยเกษตรกรได้อย่างไร และสามารถช่วยกระจายรายได้สู่ภูมิภาค มีการยกระดับของคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยเป้าหมายหลักๆมีดังนี้ ต้องมีเทคโนโลยีในการจัดการฟาร์มของเกษตรกรนั้นๆ ต้องลดต้นทุนได้ ต้องเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่ม มีโอกาสทางการตลาดของสินค้า ต้องมีสินค้าจากนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และต้องลดปริมาณการสูญเสียตลอดห่วงโซ่ผลิตได้

สวก. สนับสนุนทุนวิจัยตามแผนงานสมาร์ทฟาร์มมิ่งปี 2563 เพื่อเพิ่มมูลค่า ลดต้นทุน โดยมีกรอบวิจัยดังนี้

กรอบวิจัยที่ 1 การวิจัยและพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ ที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กรอบวิจัยที่ 2 การเกษตรแม่นยำสูง
กรอบวิจัยที่ 3 ระบบการติดตามและเตือนภัยล่วงหน้า และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศการเกษตร
กรอบวิจัยที่ 4 การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

ตัวอย่างหุ่นยนต์อารักขาพืช
หลักการทำงานคือ ระบบจะเคลื่อนที่บนสลิง ไม่ติดหล่ม และวิ่งทางชันได้ ลอยเหนือดิน มีการ U-turn บนสลิงได้ ข้ามสี่แยกได้ ตัวหุ่นยนต์สูง 4 เมตร หรือมากกว่าก็ได้ รองรับพืชไม้ผลต้นสูงๆได้ หุ่นยนต์มีความกว้าง (span) ได้ตั้งแต่ 4-10 เมตร แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ มีระบบให้น้ำ ฉีดพ่นสารเคมี แบบระบุจุดได้ รองรับพืชได้หลาย 100 ไร่ ให้น้ำได้แบบประหยัด spot พ่นเป็นจุดได้
มีระบบการวัดระยะทาง ด้วย optical encoder คลาดเคลื่อนระดับ มิลลิเมตร หรือ magnetic encoder คลาดเคลื่อนระดับต่ำกว่า 1 เซนติเมตร ไม่ต้องพึ่งพาระบบการวัดจาก GPS ดาวเทียม มีระบบการชดเชยการตกท้องช้างของลวดสลิง
สามารถติดตั้ง กระดานสำหรับการนอนหรือนั่ง ทำการเกษตรได้ และเป็นระบบสำหรับการขนส่งได้
ระบบไฟฟ้า ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถติดตั้ง solar cells ที่หลังคาของหุ่นยนต์ และระบบใช้พลังงานน้อยมาก เพราะใช้ล้อขนาดเล็กวิ่งบนสลิง แรงเสียดทานต่ำ
หุ่นยนต์เชื่อมระบบผ่าน Internet หรือ เครื่อข่ายคลื่น 3G/4G/5G หรือ WIFI
สั่งการควบคุมระยะไกล พร้อม ระบบ CCTV ถ่ายทอดสดจากแปลง และระบบ IoT sensor ต่าง ๆ แบบครบวงจร และ มีเตรียมพัฒนาระบบ AI ให้กับหุ่นยนต์ด้วย และแน่นอนว่า ว่า ควบคุมแบบอัตโนมัติ หรือจะสั่งจาก smartphone ก็ได้ ระบบทั้งหมดใช้อะไหล่ท้องถิ่น เกือบ 99% ผลิตได้เอง ซ่อมได้เองในระดับหมู่บ้าน

นอกจากนี้ยังมีโครงการการแข่งขันหุ่นยนต์ทางการเกษตรอีกจำนวน 11 โครงการชิงเงินรางวัลมากกว่า 7ล้านบาท เพื่อเป็นการผลักดันให้อาชีวะที่เป็นเกษตรกรช่วยกันระดมความคิดเพื่อกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ไม่ต้องผลักดันเข้าสู่ตลาดแรงงานในโรงงานต่อไป

#เกษตรอัจฉริยะ​​ #SmartFarming​ #เกษตรกร​​ #covid19​​ #โควิด19​​ #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ​​ #สวกงานวิจัยใช้ได้จริง​​ #สวกติดปีกเกษตรไทย​​ #สวกติดปีกเกษตรไทยงานวิจัยใช้ได้จริง​​ #ARDA

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017