วันอาทิตย์, 19 มกราคม 2568

ดินดาน โครงการวิจัยและพัฒนาเรดาร์ดินดาน การเกษตรอย่างแม่นยำ

20 เม.ย. 2020
449
ดินดาน การใช้ประโยชน์บนพื้นที่เพาะปลูกอย่างเหมาะสมและการบริหารจัดการการเกษตรอย่างแม่นยำ ดินดาน มีความจำเป็นที่เกษตรกรและภาครัฐจะต้องมีข้อมูลพื้นดินที่มีความละเอียดสูง
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
จึงได้มีการจัดทำแผนที่ใต้ดินขึ้นเพื่อประโยชน์ในเรื่องนี้ ปัจจุบันมีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพพื้นดินที่ไม่ต้องขุดเก็บตัวอย่างดิน แต่ก็มีราคาสูงและใช้งานได้ยาก สวก.จึงได้ทำการสนับสนุนและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อจัดทำแผนที่ใต้ดินขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการเกษตรของไทย

ผศ.ดร.เอกรัฐ บุญภูงา ผู้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเรดาร์ดินดาน เกษตรแม่นยำ กล่าวว่า หัวใจสำคัญของเกษตรแม่นยำสูง คือ เราจะปลูกอะไร ที่ไหน และขั้นตอนการปลูกเป็นอย่างไร ข้อมูลเป็นหัวใจหลักที่สำคัญมาก ดังนั้นโครงการวิจัยนี้ มุ่งเน้นพัฒนาตัวเรดาร์ เพื่อการสร้างภาพใต้พื้นดินสำหรับการเกษตร โดยใช้วิธีเดียวกับเทคโนโลยีของตัวเรดาร์ ในการทำการเกษตรนั้น โดยเฉพาะพืชบางประเภท เช่น พืชมันสำปะหลังหรืออ้อย ปัญหาหลักหรืออุปสรรคของการเจริญเติบโต คือ ดินดาน การเกิดดินดาน สามารถเกิดได้โดย 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกคือ เกิดโดยธรรมชาติ ประเภทที่ 2 เกิดจากการใช้งานของดิน คือ มีการไถ การพรวนดิน การปลูกพืชเป็นระยะเวลานาน เมื่อดินมีการอัดแน่นกันมากๆภายใต้พื้นดิน เมื่อฝนตกน้ำฝนไม่สามารถไหลทะลุผ่านชั้นดินได้ ดังนั้นมันสำปะหลังหรือว่าอ้อยก็จะเกิดการเน่าเสียได้ งานวิจัยของเรา ก็จะพัฒนาดังนี้ เครื่องรับเครื่องส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราส่งไปใต้ดินสะท้อนกลับมา ก็มีเครื่องรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตัวนี้มาประเมินผล มีซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไป เมื่อตัวเรดาร์เคลื่อนที่ในพื้นที่การเกษตร สัญญาณที่ส่งไปสะท้อนกลับมา

แล้วนำมาประมวลผลเราก็จะได้ภาพใต้พื้นดิน เพื่อสามารถระบุได้ว่าพื้นที่การเกษตรที่เราทำการทดสอบหรือว่าสนใจที่จะเพาะปลูก มีดินดานหรือไม่ และมีดินดานที่ความลึกเท่าไหร่ เกษตรกรสามารถนำข้อมูลที่เราจัดทำโดยการใช้เรดาร์เพื่อสร้างภาพใต้พื้นดิน เป็นข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจว่าจะปลูกพืชประเภทใดในพื้นที่ไหน
การใช้เรดาร์ตรวจใต้พื้นดิน แผนที่ใต้ดิน นอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านการเกษตรแล้ว ในหลายประเทศยังนำไปใช้ในด้านของสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมและโบราณคดีอีกด้วย
โครงการวิจัยและพัฒนาเรดาร์ดินดาน
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#ดินดาน #เกษตรแม่นยำ #แผนที่ใต้ดิน #แก้ดินดาน #ดินดานคือ