วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

สวก. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

20 เม.ย. 2020
501
ในหลายหลายทศวรรษที่ผ่านมาภาคการเกษตรของไทยเราไม่ได้มีรูปแบบทำการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เกษตรกรยังคงสืบทอดการทำการเกษตรจากรุ่นสู่รุ่นโดยการอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิม เพาะปลูกด้วยการพึ่งพาธรรมชาติ และใช้แรงงานคนเป็นหลัก ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพผลผลิตไม่ได้
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
เริ่มใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีผลที่ตามมา คือ ต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดปัญหาสุขภาพความไม่แน่นอนของปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ทำให้ผลผลิตลดน้อยลง และขาดคุณภาพ ส่งผลให้คือ ขาดแคลนบุคลากรด้านการเกษตรรุ่นใหม่ เพราะหลายหลายคนหันหลังให้กับภาคการเกษตร ด้วยความคิดที่ว่าภาคการเกษตรไม่สามารถสร้างอนาคตที่ดีให้กับพวกเขาได้

จนกระทั่งมาถึงวันนี้วันที่สำนักงานพัฒนาการวิจัยและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการวิจัยการเกษตร ที่นี่เป็นเสมือนแหล่งค้นคว้าให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการเกษตร สำหรับการเปิดรับความรู้ใหม่ เพื่อนำกลับไปเพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้กับภาคการเกษตร ปรับเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับงานวิจัยให้ง่ายขึ้น ทำให้เกษตรกรจับต้องได้ เพื่อก้าวข้ามรูปแบบการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ยังมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการวิจัยด้านการเกษตร พัฒนาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายการวิจัยกับหน่วยงานต่าง ๆ ผลักดันและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยการสนับสนุนทุนการวิจัย การพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องอาศัยนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ที่สามารถสนองความต้องการที่หลากหลาย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรได้การสร้างเครือข่ายบุคลากรงานวิจัยและบุคลากรด้านการเกษตรรุ่นใหม่ เพื่อเป็นแรงในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของไทย จากการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่สามารถสร้างผลผลิตที่มีมาตรฐานมีมูลค่าสูง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก

นอกจากนี้สิ่งที่จะช่วยให้การพัฒนางานวิจัยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีระบบฐานข้อมูลที่ดีสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ยังผู้ใช้ประโยชน์กลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง สวก. จึงได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลงานวิจัยการเกษตรของประเทศ หรือ TARR ที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยระบบคลังข้อมูลดิจิทัล สำหรับการจัดเก็บข้อมูลงานวิจัย ที่มีหน่วยงานพันธมิตรสถาบันการศึกษาเข้าร่วมเผยแพร่งานวิจัยเป็นจำนวนมาก

เชื่อมโยงและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรจากหน่วยงานวิจัยภาครัฐสู่ภาคเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทำให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#สวก. #เกษตรสมัยใหม่ #วิจัยการเกษตร #ผลงานสวก #เกษตรก้าวไกล