วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

เชื้อจุลินทรีย์ แนวทางใหม่ในการควบคุมโรคตายพรายและหนอน

20 เม.ย. 2020
376
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
เกษตรกรที่ปลูกกล้วยมักจะประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคในกล้วยและแมลง ปลุกกล้วยในปัจจุบันนี้พบว่ามีแมลงเข้าทำลายกล้วยมาถึง 182 ชนิด ส่วนโรคที่สำคัญของต้นกล้วย คือ โรคตายพราย ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Fusarium Oysporum เป็นโรคที่ระบาดรุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับการปลูกกล้วยไปทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม

อาการของโรคตายพรายและหนอนเจาะลำต้นกล้วย โรคตายพรายเกิดจากเชื้อรา Fusarium Oysporum ต้นกล้วยอายุน้อยที่เกิดโรคตายพรายจะอ่อนแอต่อโรคเป็นอย่างมาก ทำให้ต้นตายทั้งต้น ส่วนต้นโตที่อยู่ในระหว่างให้ผลผลิตจะแสดงอาการดังนี้ คือ ต้นและใบเหี่ยว แห้ง ให้ผลผลิตน้อยลง เนื่องจากเชื้อสามารถติดไปกับหน่อพันธุ์ได้ ทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่น ๆ เกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารเคมี ในการกำจัดเชื้อราชนิดนี้ ให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

ปัญหาหนอนเจาะลำต้นกล้วย ซึ่งหนอนศัตรูพืชจะเข้าทำลายต้นพันธุ์ ทำให้ไม่สามารถใช้ขยายพันธุ์ได้ การกำจัดโรคตายพลฝรายและหนอนเจาะลำต้น ตามแนวทางเดิมเกษตรกรใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและแมลงทำให้เกิดปัญหาสารตกค้างในกล้วย แนวทางใหม่โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการแก้ปัญหาโรคตายพราย คือ การใช้แบคทีเรีย Bacillus spp. ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Fusarium Oysporum ปัญหาหนอนเจาะลำต้นกล้วย แก้ปัญหาโดยการใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema sp. และไส้เดือนฝอย Heterorhabditis sp. ว่าไส้เดือนฝอยทั้ง 2 ชนิด สามารถทำลายหนอนเจาะลำต้นกล้วยและหนอนเจาะเหง้ากล้วย วัยที่ 1 ถึงวัยที่ 5 ได้ มีอัตราการตายร้อยละ 80 – 100 ภายในระยะเวลา 96 ชั่วโมง

ในการทดลองเชื้อรา Metarhuzium anisopliae และ Beauveria bassiana พบว่า เชื้อรา Metarhuzium ทำให้หนอนวัยที่ 1 ถึงวัยที่ 5 ตายมากที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 64 ภายในเวลา 8 วัน เชื้อรา Beauveria ทำให้หนอนวัยที่ 1 ถึง 5 และระยะดักแด้ มีอัตราการตายร้อยละ 44 ภายในระยะเวลา 5 วัน

website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#เชื้อจุลินทรีย์ #โรคตายพราย #โรคในกล้วย #เชื้อจุลินทรีย์ในร่างกายมนุษย์