วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2567

โปรตีนพลังงานโคนมทดแทน รายการเกษตรก้าวไกลกับ สวก. คุณปาลิดา

20 เม.ย. 2020
477
รายการเกษตรก้าวไกลกับ สวก. คุณปาลิดา หงษ์กระจ่าง ผู้ดำเนินรายการ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยทั้งประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้ คือ การให้อาหารโคนมอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะระยะให้น้ำนม การประกอบสูตรอาหารจึงต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับความต้องการของโคนมในแต่ละระยะ งานวิจัยการศึกษาความต้องการโปรตีนและพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโคนมทดแทนฝูง จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1

ดร.วิทยา สุมามาลย์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง ในส่วนของโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนของการศึกษาความต้องการโปรตีนและพลังงานของการเจริญเติบโตของโคนมทดแทนฝูง ทั้งระบบในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้สูตรอาหารมีความเหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงโคนมโดยตรง ซึ่งจะสามารถทำให้ลดต้นทุนในการผลิตได้ โดยปกติในการประกอบสูตรอาหารของเชิงพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือสหกรณ์ที่ผลิตขายให้กับเกษตรกร หรือเกษตรกรผลิตเอง ยังจะใช้ข้อมูลที่มีการอ้างอิงมาจากต่างประเทศในการประกอบสูตรอาหาร ในการวิจัยครั้งนี้มีการศึกษาถึงความต้องการโปรตีนและพลังงานในการเจริญเติบโตของโคในแต่ละระยะ ตั้งแต่โคเล็กจนถึงโคสาว ว่ามีความต้องการโภชนะเท่าไหร่ การคำนวณสูตรอาหารโคนม เพื่อให้ได้คุณภาพทางโภชนะเป็นไปตามความต้องการของโคนมแต่ละระยะนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานที่ต้องการเบื้องต้น 2 ส่วน คือ ค่าความต้องการโภชนะของสัตว์ คุณค่าทางโภชนะตลอดจนการย่อยของวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด ซึ่งข้อมูลที่ได้ทั้งสองส่วนจะทำให้การประกอบสูตรอาหารโคนมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับความต้องการของโคนมแต่ละระยะ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย

จากตรงนี้เมื่อเกษตรกรสามารถประกอบสูตรอาหารโคนมได้เอง ผลิตได้ตรงตามศักยภาพโคนมที่เลี้ยงอยู่ จะทำให้ได้ผลผลิตที่ตรงตามคุณภาพที่ต้องการ ในส่วนของผู้ประกอบการหรือบริษัทห้างร้านเอกชนที่ทำการผสมสูตรอาหารขายให้กับเกษตรกรทั่วไป สามารถนำเอาสูตรอาหารนี้ไปผลิตขายให้กับเกษตรกรได้ ซึ่งในงานวิจัยอาหารสัตว์ชุดนี้ สามารถนำไปเป็นมาตรฐานในการผลิตอาหารสัตว์แทนมาตรฐานเดิมที่อ้างอิงจากต่างประเทศได้ ซึ่งแบบเดิมนั้นอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมกับสภาพของโคนมในประเทศไทยโดยตรง การผลิตสูตรอาหารตามงานวิจัยนี้ทำให้สามารถผลิตอาหารที่มีต้นทุนลดลง และสุดท้ายเกษตรกรก็สามารถซื้ออาหารโคนมในราคาที่ถูกลงได้
รู้ไหมว่า…โคนมแต่ละระยะก็ต้องการอาหาร ทั้งโปรตีนและพลังงานไม่เหมือนกัน งานวิจัยชิ้นนี้จะทำให้เกษตรกรประกอบสูตรอาหารได้ตรงตามความต้องการ และเพิ่มศักยภาพของโคนมได้ มาชมกันครับ!!
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#โปรตีน #อาหารโคนม #วิจัยอาหารสัตว์ #อาหารโปรตีน #โครงสร้างโปรตีน
#เกษตรใครๆก็เก็ตได้กับสวก.
#เกษตรก้าวไกลกับสวก.
#ARDA