วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน 2567

ลำไยนอกฤดู ปัญหาการผลิตคุณภาพ ต้องทำตามขั้นตอนนี้เลย

20 เม.ย. 2020
400
ติดตามรับข้อมูลฟรีได้ที่ ?https://www.youtube.com/user/dumpba/featured?sub_confirmation=1
ลำใยเป็นไม้ผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบน ที่มีการส่งออกรูปผลสด อบแห้ง และบรรจุกระป๋อง รวมมูลราคามากกว่า 10,000 ล้านบาท พื้นที่ผลิตลำไยทั้งประเทศรวมแล้วประมาณ 1,000,000 ไร่ ซึ่งมากกว่า 70% อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ปัญหาสำคัญของการผลิตลำไย คือ ผลผลิตในฤดูออกสู่ตลาดในเวลาเดียวกัน ทำให้ผลผลิตล้นตลาดและขาดแคนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งผลทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ต่ำ เกษตรกรเก็บผลผลิตของตนเองไม่ทัน ทำให้เกิดความเสียหายจากการร่วงหล่นของผลลำไย นอกจากนี้ผลลำไยที่แก่จัดไม่สามารถส่งออกเป็นลำไยผลสดได้

แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การกระจายฤดูกาลผลิตให้กว้างขึ้นนั่น คือ การผลิตนอกฤดูให้เพิ่มขึ้นและผลิตให้ได้คุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเรื่องการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดู ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน
เทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดู มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การตกแต่งกิ่งโดยตัดเป็นทรงเปิดกลางพุ่ม และทรงฝาชีหงาย
ขั้นตอนที่ 2 การให้ปุ๋ยระยะใบและระยะติดผล โดยใส่ปุ๋ยสามสูตรคือ สูตร 46-0-0 สูตร 15-15-15 และสูตร 0-0-60 ดังนี้ การให้ปุ๋ยช่วงแตกใบมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงกลางพุ่ม 3,4,5,6,7 เมตร จะให้ปุ๋ยต่างกัน มันให้ไปช่วงติดผล ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ 50 , 100 , 200 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งจะให้ปุ๋ยแตกต่างกัน
ขั้นตอนที่ 3 การใช้สารโพแทสเซียมคอลเรต ใช้สารในช่วงอายุใบ 25 – 35 วัน ซึ่งเป็นระยะใบที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4 การตัดช่อผลเพื่อให้ลูกโต โดยจะตัดครึ่งช่อทุกช่อตัดให้เหลือ 60 ผลต่อช่อ ตัดทั้งช่อโดยกระจายทั่วทั้งต้นให้เหลือประมาณ 60% ของการติดผลเดิม

ขั้นตอนที่ 5 การเก็บเกี่ยวผลผลิต อายุการเก็บเกี่ยวผลลำไยที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 180 ถึง 220 วัน หลังจากการลาดสารน้ำตาลไม่น้อยกว่า 16 องศาบริกซ์ มีขนาดผลเฉลี่ยมากกว่า 2.5 เซนติเมตร
จากผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยรวมมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจากเดิมค่าเฉลี่ยผลผลิตจะอยู่ในช่วง 330 ถึง 696 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 634 ถึง 1648 กิโลกรัมต่อไร่ จากนี้ยังทำให้ได้ผลผลิตเกรด AA และ A รวมกันมากถึง 80% เท่านี้ปัญหาการผลิตลำไยล้นตลาดก็จะหมดไป


website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#ลำไยนอกฤดู #ปัญหาการผลิต #ล้นตลาด #ปัญหาการผลิตสินค้า #ปัญหาการผลิต