การออกแบบและพัฒนาเครื่องคว้านเม็ดเงาะ
การพัฒนาเครื่องคว้านเงาะในระดับอุตสาหกรรมนั้น ตัวเครื่องประกอบไปด้วย ชุดคัดขนาด ชุดลำเลียงเงาะเข้าเครื่องคว้าน และเครื่องคว้านเงาะ สำหรับการคว้านเงาะจะต้องเริ่มจากการคัดขนาเงาะ ที่ได้ออกแบบอุปกรณ์คัดขนาดเงาะพัฒนาซึ่งใช้ระบบ image processing ใช้กล้องในการประมวลผลภาพ จากนั้นเมื่อเราได้คัดขนาดเงาะได้ตามต้องการแล้ว จึงนำผลเงาะมาใส่ในเครื่องลำเลียงเพื่อลำเลียงเข้าสู่เครื่องคว้านเม็ดเงาะ
สำหรับการคว้านเม็ดเงาะ ใช้หลักการเป็นแท่ง แทงเข้าไปในเม็ดเงาะ ซึ่งลักษณะการใช้งานจะแทงทะลุทั้งหัวทั้งท้าย เหมาะสำหรับการทำเป็นเงาะยัดไส้สับปะรด โดยเริ่มต้นจากการคัดขนาดเงาะโดยใช้เครื่องคัดขนาดแบบประมวลผลภาพ จากนั้นกล้องก็ทำการประมวลผล คัดแยกเงาะที่มีขนาดตามที่ต้องการ หลังจากที่เราทำการคัดแยกเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเงาะที่ผ่านการคัดเลือกมาเข้าเครื่องลำเลียงเพื่อนำไปสู่เครื่องคว้านเงาะต่อไป
เครื่องคว้านเม็ดเงาะใช้หลักการคว้านโดยการตัดเนื้อรอบๆ บริเวณเม็ดเงาะออก โดยใช้หัวตัดรูปทรงกระบอกกลวงปลายแหลมทิ่มเข้าไปในผลเงาะ มีหัวคว้านเม็ดเงาะ จำนวน 10 หัวคว้าน เครื่องคว้านเม็ดเงาะมีลักษณะการทำงานแบบต่อเนื่อง ใช้ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน ช่วยกันป้อนผลเงาะเข้าสู่เครื่อง กำลังการผลิตสูงสุด โดยประมาณ 10,000 ผล/ชั่วโมง เครื่องคว้านเม็ดเงาะสามารถคว้านเม็ดเงาะโดยไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด (Seed coat) ติดอยู่ที่เนื้อเงาะ โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องทำจากวัสดุเกรดอาหาร เหมาะสำหรับใช้กับเงาะยัดไส้ผลไม้ชนิดอื่นๆ
ต้นแบบเครื่องคว้านเมล็ดเงาะ มีชิ้นส่วนหลักประกอบด้วยชุดป้อน ชุดลำเลียง ชุดหัวคว้าน มอเตอร์ต้นกำลังและโครงเครื่อง จากการทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผลกับเงาะที่ปอกเปลือกและไม่ปอกเปลือก พบว่า เมื่อใช้คว้านเงาะแบบไม่ปอกเปลือกขนาด 1 มีประสิทธิภาพการคว้านสูงสุดที่ 73.34% ทิศทางการคว้านจากด้านขั้วหรือด้านก้น ไม่มีผลต่อการคว้านเมล็ดเงาะ เครื่องคว้านเมล็ดเงาะมีจำนวนหัวคว้าน 10 หัวคว้าน หมุนด้วยความเร็วรอบ 18 รอบ/นาที สามารถคว้านเมล็ดเงาะได้ 180 ผล/นาที ดังนั้น 1 ชั่วโมงจึงมีกำลังการผลิตสูงถึง 10,800 ผล ซึ่งมากกว่าการใช้แรงงานคนคว้านถึง 10 เท่า
#เครื่องคว้านเมล็ดเงาะ #เงาะ #เมล็ด #วิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
การพัฒนาเครื่องคว้านเงาะในระดับอุตสาหกรรมนั้น ตัวเครื่องประกอบไปด้วย ชุดคัดขนาด ชุดลำเลียงเงาะเข้าเครื่องคว้าน และเครื่องคว้านเงาะ สำหรับการคว้านเงาะจะต้องเริ่มจากการคัดขนาเงาะ ที่ได้ออกแบบอุปกรณ์คัดขนาดเงาะพัฒนาซึ่งใช้ระบบ image processing ใช้กล้องในการประมวลผลภาพ จากนั้นเมื่อเราได้คัดขนาดเงาะได้ตามต้องการแล้ว จึงนำผลเงาะมาใส่ในเครื่องลำเลียงเพื่อลำเลียงเข้าสู่เครื่องคว้านเม็ดเงาะ
สำหรับการคว้านเม็ดเงาะ ใช้หลักการเป็นแท่ง แทงเข้าไปในเม็ดเงาะ ซึ่งลักษณะการใช้งานจะแทงทะลุทั้งหัวทั้งท้าย เหมาะสำหรับการทำเป็นเงาะยัดไส้สับปะรด โดยเริ่มต้นจากการคัดขนาดเงาะโดยใช้เครื่องคัดขนาดแบบประมวลผลภาพ จากนั้นกล้องก็ทำการประมวลผล คัดแยกเงาะที่มีขนาดตามที่ต้องการ หลังจากที่เราทำการคัดแยกเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเงาะที่ผ่านการคัดเลือกมาเข้าเครื่องลำเลียงเพื่อนำไปสู่เครื่องคว้านเงาะต่อไป
เครื่องคว้านเม็ดเงาะใช้หลักการคว้านโดยการตัดเนื้อรอบๆ บริเวณเม็ดเงาะออก โดยใช้หัวตัดรูปทรงกระบอกกลวงปลายแหลมทิ่มเข้าไปในผลเงาะ มีหัวคว้านเม็ดเงาะ จำนวน 10 หัวคว้าน เครื่องคว้านเม็ดเงาะมีลักษณะการทำงานแบบต่อเนื่อง ใช้ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน ช่วยกันป้อนผลเงาะเข้าสู่เครื่อง กำลังการผลิตสูงสุด โดยประมาณ 10,000 ผล/ชั่วโมง เครื่องคว้านเม็ดเงาะสามารถคว้านเม็ดเงาะโดยไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด (Seed coat) ติดอยู่ที่เนื้อเงาะ โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องทำจากวัสดุเกรดอาหาร เหมาะสำหรับใช้กับเงาะยัดไส้ผลไม้ชนิดอื่นๆ
ต้นแบบเครื่องคว้านเมล็ดเงาะ มีชิ้นส่วนหลักประกอบด้วยชุดป้อน ชุดลำเลียง ชุดหัวคว้าน มอเตอร์ต้นกำลังและโครงเครื่อง จากการทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผลกับเงาะที่ปอกเปลือกและไม่ปอกเปลือก พบว่า เมื่อใช้คว้านเงาะแบบไม่ปอกเปลือกขนาด 1 มีประสิทธิภาพการคว้านสูงสุดที่ 73.34% ทิศทางการคว้านจากด้านขั้วหรือด้านก้น ไม่มีผลต่อการคว้านเมล็ดเงาะ เครื่องคว้านเมล็ดเงาะมีจำนวนหัวคว้าน 10 หัวคว้าน หมุนด้วยความเร็วรอบ 18 รอบ/นาที สามารถคว้านเมล็ดเงาะได้ 180 ผล/นาที ดังนั้น 1 ชั่วโมงจึงมีกำลังการผลิตสูงถึง 10,800 ผล ซึ่งมากกว่าการใช้แรงงานคนคว้านถึง 10 เท่า
#เครื่องคว้านเมล็ดเงาะ #เงาะ #เมล็ด #วิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง