การพัฒนาพลาสมาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มมูลค่าสำหรับคะน้าและมะม่วง
Plasma Innovation for safety and value added of kale and mango
ผศ.ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์ เป็นตัวแทนทีมวิจัยจะขออนุญาตมาเล่าถึงเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลาสมา ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ชื่อหัวข้อโครงการคือการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงและคะน้า โดยหลักการของการสร้างพลาสมา คือการใช้วิธี gliding arc โดยที่มีองค์ประกอบสำคัญในการสร้างน้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาประกอบไปด้วยแก๊ส โดยแก๊สที่ใช้เป็นอาร์กอนผสมกับออกซิเจนประมาณ 2% แหล่งจ่ายไฟที่เป็นกระแสตรง เมื่อประกอบร่างรวมกันเสร็จแล้ว ก็จะเห็นได้จากในรูปที่เป็นไฟฟ้าสีม่วงๆคือ พลาสมา ที่เราสร้างขึ้นมาได้ ส่วนหลอดทางด้านบนจะเป็นหลอดน้ำที่ส่งน้ำในลักษณะหยดน้ำเข้าไปยัง plasma jet ที่เป็นสีม่วง สุดท้ายจะได้น้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาออกมา
เมื่อเราได้น้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาออกมาแล้ว องค์ประกอบสำคัญที่อยู่ในน้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาก็คือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ก็คือ H2O2
เมื่อเราได้น้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมามาแล้ว จะมาดูกันว่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ จะมีค่าเท่าไร โดยใช้แผ่นทดสอบจุ่มเข้าไปในน้ำที่ถูกกระตุ้นด้วยพลาสมา แล้วเทียบความเข้มของสีที่แสดงออกมา จากการทดสอบพบว่าความเข้มข้นของพลาสมาอยู่ที่ประมาณ 10 เมื่อเพิ่มระยะเวลาในการจุ่มพลาสมา เราก็จะได้ปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพิ่มมากขึ้น แล้วมันดียังไงคือถ้าไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพิ่มขึ้นก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการที่จะไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีหรือชำระล้างสารเคมีได้นั่นเอง
– จากการศึกษาและวิจัยโดยใช้คะน้าและมะม่วง เป็นต้นแบบในการศึกษากระบวนการ จนได้กระบวนการล้างผักและผลไม้ที่มีประสิทธิภาพสูงในระยะเวลาที่รวดเร็ว
– กําจัดสารพิษตกค้างในคะน้าและมะม่วง สลายสารเคมีได้ 70% ใช้เวลาเพียง 5 นาที ผ่านมาตรฐาน Codex Alimentarius
– เทคโนโลยีสะอาด (Green Technology) เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อม
– ไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและลักษณะ ทางประสาทสัมผัสของคะน้าและมะม่วง
– ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในผักและผลไม้ ส่งผลให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม
#พลาสม่า #มะม่วง #คะน้า #งานวิจัย #สวก.
นวัตกรรมพลาสมาเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มมูลค่า สําหรับคะน้าและมะม่วง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
Plasma Innovation for safety and value added of kale and mango
ผศ.ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์ เป็นตัวแทนทีมวิจัยจะขออนุญาตมาเล่าถึงเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลาสมา ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ชื่อหัวข้อโครงการคือการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงและคะน้า โดยหลักการของการสร้างพลาสมา คือการใช้วิธี gliding arc โดยที่มีองค์ประกอบสำคัญในการสร้างน้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาประกอบไปด้วยแก๊ส โดยแก๊สที่ใช้เป็นอาร์กอนผสมกับออกซิเจนประมาณ 2% แหล่งจ่ายไฟที่เป็นกระแสตรง เมื่อประกอบร่างรวมกันเสร็จแล้ว ก็จะเห็นได้จากในรูปที่เป็นไฟฟ้าสีม่วงๆคือ พลาสมา ที่เราสร้างขึ้นมาได้ ส่วนหลอดทางด้านบนจะเป็นหลอดน้ำที่ส่งน้ำในลักษณะหยดน้ำเข้าไปยัง plasma jet ที่เป็นสีม่วง สุดท้ายจะได้น้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาออกมา
เมื่อเราได้น้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาออกมาแล้ว องค์ประกอบสำคัญที่อยู่ในน้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมาก็คือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ก็คือ H2O2
เมื่อเราได้น้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมามาแล้ว จะมาดูกันว่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ จะมีค่าเท่าไร โดยใช้แผ่นทดสอบจุ่มเข้าไปในน้ำที่ถูกกระตุ้นด้วยพลาสมา แล้วเทียบความเข้มของสีที่แสดงออกมา จากการทดสอบพบว่าความเข้มข้นของพลาสมาอยู่ที่ประมาณ 10 เมื่อเพิ่มระยะเวลาในการจุ่มพลาสมา เราก็จะได้ปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพิ่มมากขึ้น แล้วมันดียังไงคือถ้าไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพิ่มขึ้นก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการที่จะไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีหรือชำระล้างสารเคมีได้นั่นเอง
– จากการศึกษาและวิจัยโดยใช้คะน้าและมะม่วง เป็นต้นแบบในการศึกษากระบวนการ จนได้กระบวนการล้างผักและผลไม้ที่มีประสิทธิภาพสูงในระยะเวลาที่รวดเร็ว
– กําจัดสารพิษตกค้างในคะน้าและมะม่วง สลายสารเคมีได้ 70% ใช้เวลาเพียง 5 นาที ผ่านมาตรฐาน Codex Alimentarius
– เทคโนโลยีสะอาด (Green Technology) เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อม
– ไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและลักษณะ ทางประสาทสัมผัสของคะน้าและมะม่วง
– ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในผักและผลไม้ ส่งผลให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนาน
หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม
#พลาสม่า #มะม่วง #คะน้า #งานวิจัย #สวก.
นวัตกรรมพลาสมาเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มมูลค่า สําหรับคะน้าและมะม่วง
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง