การพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวด
รศ.ดร.ศักดา ดาดวง สาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันนี้จะมานำเสนอผลงานวิจัยแทนผู้อำนวยการแผนงานวิจัย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ภาควิชาชีววิทยาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อการวิจัยเรื่องการพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวดต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิจัยการเกษตรองค์การมหาชน
สำหรับผลสำเร็จของโครงการนี้เราได้พัฒนาชุดตรวจตะกั่วในตัวอย่างต่างๆ ซึ่งชุดนี้จะเป็น Lead Test Kit จะเป็นสารละลายที่เป็นชุดตรวจเพื่อการตรวจในตะกั่ว สามารถตรวจได้ในตัวอย่างอาหาร เช่น อาหารทะเล น้ำก๋วยเตี๋ยวที่ต้มอยู่ในหม้อ ชุดนี้ก็สามารถที่จะใช้ตรวจได้
วันนี้เราจะมาแนะนำชุดคิทที่พัฒนาโดยใช้เอนไซม์จากธรรมชาติ โดยเอนไซม์ชนิดนี้จะนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจหาตะกั่ว ซึ่งอาจจะปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งชุดคิทจะประกอบไปด้วย Test tube solution a และ solution b และตัวอย่างที่นำมาทดสอบในวันนี้จะประกอบไปด้วยอาหารทะเล น้ำซุป และน้ำดื่ม
วิธีการตรวจสอบโดยการใช้ Lead Test Kit จะทำการเติมตัวอย่างลงไป 400 ไมโครลิตร เข้าไปในหลอดทดลองจากนั้นเติม solution a เข้าไป 100 ไมโครลิตรและ solution b เข้าไป 200 ไมโครลิตร ทำการเขย่าขวดและตั้งทิ้งไว้เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลา 15 นาที เมื่อตั้งทิ้งไว้ครบ 15 นาที ก็จะมาสังเกตผลที่ได้ ตัวอย่างที่ 1 พบว่าสีของสารละลายเมื่อเทียบกับแถบสีที่ติดอยู่ข้างหลอด จะพบว่าตัวอย่างที่ 1 มีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนอยู่ประมาณ 30 ppm ตัวอย่างที่ 2 พบว่ามีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนมากกว่า 50 ppm และตัวอย่างที่ 3 พบว่ามีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนมากกว่า 50 ppm
#strip #ชุดตรวจสารเคมี #ตะกั่ว #LeadTestKit #วิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
รศ.ดร.ศักดา ดาดวง สาขาวิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันนี้จะมานำเสนอผลงานวิจัยแทนผู้อำนวยการแผนงานวิจัย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ภาควิชาชีววิทยาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อการวิจัยเรื่องการพัฒนา strip และชุดตรวจเพื่อตรวจสารเคมีและวัตถุเจือปนอาหารตกค้างของเครื่องดื่มและอาหาร ได้อย่างรวดต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิจัยการเกษตรองค์การมหาชน
สำหรับผลสำเร็จของโครงการนี้เราได้พัฒนาชุดตรวจตะกั่วในตัวอย่างต่างๆ ซึ่งชุดนี้จะเป็น Lead Test Kit จะเป็นสารละลายที่เป็นชุดตรวจเพื่อการตรวจในตะกั่ว สามารถตรวจได้ในตัวอย่างอาหาร เช่น อาหารทะเล น้ำก๋วยเตี๋ยวที่ต้มอยู่ในหม้อ ชุดนี้ก็สามารถที่จะใช้ตรวจได้
วันนี้เราจะมาแนะนำชุดคิทที่พัฒนาโดยใช้เอนไซม์จากธรรมชาติ โดยเอนไซม์ชนิดนี้จะนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจหาตะกั่ว ซึ่งอาจจะปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งชุดคิทจะประกอบไปด้วย Test tube solution a และ solution b และตัวอย่างที่นำมาทดสอบในวันนี้จะประกอบไปด้วยอาหารทะเล น้ำซุป และน้ำดื่ม
วิธีการตรวจสอบโดยการใช้ Lead Test Kit จะทำการเติมตัวอย่างลงไป 400 ไมโครลิตร เข้าไปในหลอดทดลองจากนั้นเติม solution a เข้าไป 100 ไมโครลิตรและ solution b เข้าไป 200 ไมโครลิตร ทำการเขย่าขวดและตั้งทิ้งไว้เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลา 15 นาที เมื่อตั้งทิ้งไว้ครบ 15 นาที ก็จะมาสังเกตผลที่ได้ ตัวอย่างที่ 1 พบว่าสีของสารละลายเมื่อเทียบกับแถบสีที่ติดอยู่ข้างหลอด จะพบว่าตัวอย่างที่ 1 มีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนอยู่ประมาณ 30 ppm ตัวอย่างที่ 2 พบว่ามีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนมากกว่า 50 ppm และตัวอย่างที่ 3 พบว่ามีปริมาณตะกั่วปนเปื้อนมากกว่า 50 ppm
#strip #ชุดตรวจสารเคมี #ตะกั่ว #LeadTestKit #วิจัย #สวก.
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
เรื่องที่เกี่ยวข้อง