วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

การจัดการโรคแอนแทรคโนสหลังการเก็บเกี่ยว | สวก.

การจัดการโรคแอนแทรคโนสหลังการเก็บเกี่ยว | สวก.

0:10 โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญของมะม่วงของพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองที่ใช้ส่งไปต่างประเทศ โรคแอนแทรคโนสสามารถเข้าทำลายผลมะม่วงได้ตั้งแต่ในแปลงปลูก แต่ไม่แสดงอาการ จะมาแสดงอาการเมื่อผลสุก เพราะฉะนั้นการจัดการควบคุมโรคสามารถทำได้หลังจากการเก็บเกี่ยว

0:30 ขั้นตอนการจัดการโรคแอนแทรคโนสหลังการเก็บเกี่ยวสามารถทำได้ดังนี้
1. ภายหลังการเก็บเกี่ยวต้องเคลื่อนย้ายผลมะม่วงมายังโรงคัดบรรจุ ด้วยรถขนส่งห้องเย็นซึ่งมีอุณหภูมิระหว่าง 13-15 องศาเซลเซียส
0:50 2. เมื่อผลมะม่วงมาถึงโรงคัดบรรจุระหว่างกระบวนการคัดเกรด ตัดขั้ว สะเด็ดยางแล้ว จึงนำไปจุ่มคลอรีนและการเตรียมสารเคมีเพื่อป้องกันโรค ควรปฏิบัติในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ 13-15 องศาเซลเซียส
1:08 3. หยุดการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เข้าทำร้ายแฝงในผลด้วยการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 นาที หรือใช้สารละลายคลอรีนความเข้มข้น 150 ppm เป็นเวลา 3 นาที ผึ่งให้แห้งแล้วจุ่มในสารเคมี azoxystrobin ความเข้มข้น 250 ppm เป็นเวลา 3 นาที
1:38 4. เมื่อผลแห้ง จึงนำมาห่อด้วยโฟมแล้วย้ายไปเก็บที่ห้องเย็นอุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส เพื่อทำความเย็น
1:49 5. นำมาห่อด้วยโฟมกันกระแทกสีแดง บรรจุผลในกล่องกระดาษจำนวน 14 ลูกต่อ 1 กล่อง ไปเก็บที่ห้องเย็นอุณหภูมิ 13 องศาเซลเซียส พร้อมทำการขนส่งต่อไป

2:05 การจัดการโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วงด้วยวิธีการหลังเก็บเกี่ยวดังกล่าว จะช่วยลดการเข้าทำลายและการแสดงอาการของโรคแอนแทรกโนส อีกทั้งยังสามารถยืดระยะเวลารายการเก็บรักษาอีกด้วย

2:20 การควบคุมโรคที่กล่าวมาข้างต้นเกษตรกรสามารถช่วยผู้ส่งออกได้โดยในขั้นต้น คือการขนส่งมะม่วงมายังโรงแพ็คที่ใส่ห้องเย็น จะช่วยลดการเกิดโรค ชะลอการเกิดโรคในผลมะม่วง เมื่อมาถึงโรงบรรจุหีบห่อ ผู้ส่งออกก็สามารถจัดการโรคได้ โดยการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวในหลักการที่กล่าวมาแล้ว โดยการร่วมมือระหว่างเกษตรกรและผู้ส่งออก โดยที่ใช้วิธีดังกล่าวก็จะทำให้การควบคุมโรคแอนแทรคโนสประสบความสำเร็จ

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website ? http://www.arda.or.th
Facebook ?https://www.facebook.com/ardathai
Line ✅https://line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA ? https://www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017

#โรคแอนแทรคโนส #มะม่วง​ ​​ #ส่งออก #
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร​ #arda​ #วิจัยและพัฒนา​ #สวก​.​​​​